การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์
การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์
การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์
( Disease and pest management in hydroponics system )
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชแบบไม่ใช้วัสดุปลูก (no substrate หรือ water cuture) ซึ่งเป็นลักษณะของการปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชโดยให้รากสัมผัสกับสารอาหารโดยตรง เป็นวิธีการปลูกผักที่สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ ส่งผลให้ได้ผลผลิตผักที่มีคุณภาพ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สามารถปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และปลูกเพื่อเป็นการค้า แต่มีข้อเสียจากการที่เชื้อโรคพืชจะติดไปกับระบบให้สารละลายธาตุอาหารซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ทั่วทั้งระบบปลูก ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผักไฮโดรโปนิกส์
การใช้ชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ นับได้ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีได้ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย
โรคพืชที่สำคัญในระบบการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ มี 2 กลุ่ม คือ
- โรคที่เกิดกับใบ (Foliar diseases) โรคในกลุ่มนี้เกิดจากการแพร่ระบาดทางอากาศ ทำให้มีการติดเชื้อที่ใบของพืช เช่น โรคราแป้ง ราน้ำค้าง และใบจุด
- โรคที่เกิดกับระบบราก (Root diseases) โรคในกลุ่มนี้เกิดจากเชื้อปนเปื้อนเข้าไปในระบบปลูกหรือน้ำที่เราใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหาร วัสดุปลูก หรือเมล็ดพันธุ์ จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่รากและแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆของผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
โรคทางใบที่สำคัญ
1.โรคราแป้ง (Powdery mildew) จะพบอาการได้ที่ใบด้านล่างก่อนแล้วจึงลามขึ้นสู่ใบด้านบน โดยเชื้อราสาเหตุโรคจะขึ้นปกคลุมผิวของพืชใบที่เป็นโรคจะสังเกตเห็นได้ว่าที่ผิวใบจะมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้ง แต่เซลล์ของใบจะเป็นสีน้ำตาล และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาใบจะเริ่มแห้ง ซึ่งอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งตายในที่สุด
2.โรคราน้ำค้าง(DownyMildew) โรคจะเกิดเป็นกับผักได้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มงอกจากเมล็ดจนกระทั่งโตเป็นต้นแก่อาการเริ่มแรกจะเกิดขึ้นที่ด้านใต้ใบโดยจะสังเกตเห็นกลุ่มผงสีขาวหรือเทาของสปอร์และเส้นใยของเชื้อว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มๆต่อมาด้านหลังใบตรงที่เดียวกันก็จะเกิดแผลสีเหลืองๆเนื่องมาจากเซลล์ตายขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในที่สุดอาจทำให้ทั้งใบเหลืองและแห้งตายทำให้ต้นโทรมอ่อนแอและอาจถึงตายได้
3.โรคใบจุด (Leaf spot) ใบพืชจะพบจุดสีน้ำตาล กลม หรือเหลี่ยม ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน โรคนี้จะเกิดกับพืชตระกูลกะหล่ำและพืชกินใบแทบทุกชนิด เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง ผักสลัด
โรคที่เกิดกับระบบรากที่สำคัญ
โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราสาเหตุหลายชนิด เช่น Pythium sp., Phytophthora sp.
พบอาการใบจะมีสีเหลืองซีดถึงเหลือง โดยเริ่มจากเส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามจากโคนใบไปถึงยอด ใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำและหลุดร่วงแห้งตาย เมื่อถอนดูรากจะพบรากฝอยเน่า รากถอดปลอกเปื่อยยุ่ย มีกลิ่นเหม็น ทำให้ต้นตายได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
1.แมลงดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว และมวนต่างๆ แมลงกลุ่มนี้มีปากแบบแทงเจาะดูด และดูดน้ำเลี้ยงของพืช บางชนิดเป็นพาหะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส พืชที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะมีใบหงิกงอ ใบม้วนเหี่ยว ต้นไม่โต
2.แมลงกัดกินใบ เช่น หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข็ง มีปากแบบกัดกิน กัดกินใบพืช กัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบ พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง/ที่สะสมอาหาร/ยอดอ่อน เพื่อเติบโต
3.หนอนชอนใบ เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด กัดกินเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบพืช
พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง/ที่สะสมอาหาร เข้าทำลายพืชได้เกือบทุกชนิด พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ พริก มะเขือเทศ
วิธีป้องกัน ควบคุมการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช
1.ก่อนและหลังปลูกควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อระบบปลูกทุกส่วน ฉีดพ่นหรือล้างด้วยพาทเนอร์-ที(คลอรีนไดออกไซต์)ไม่ว่าจะเป็น วัสดุปลูก รางปลูก อุปกรณ์ที่ใช้ปลูก เนื่องจากอาจเป็นแหล่งสะสม และแพร่กระจายของเชื้อโรคในระบบปลูกได้ โดยใช้อัตราพาทเนอร์-ที 1 เม็ด ต่อน้ำ 4 ลิตร (100ppm)
2.เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่ปลอดโรค และต้องแช่เมล็ดผักด้วย ไตร-แท๊บ อัตรา 10 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์
3.ใช้ ไตร-แท๊บ ตั้งแต่ระยะเพาะกล้า โดยปล่อยไปกับระบบน้ำในรางเพาะกล้า อัตราการใช้ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 2000 ลิตร เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคตั้งแต่ระยะกล้า
4.หลังย้ายกล้าลงระบบ ให้ใช้ เจน-แบค โดยปล่อยไปกับระบบน้ำในรางปลูก อัตราการใช้ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 4000 ลิตร และให้เติมเชื้อ เจน-แบค ทุก 7-10 วัน
5.ใช้ เจน-แบค ฉีดพ่นทางใบเพื่อป้องกันการเกิดโรคทุกๆ 7 วัน อัตราการใช้ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
6.ควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นพืชเป็นโรคให้รีบนำออกจากรางปลูก และจะได้ฉีดพ่นชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมโรคจะช่วยให้ไม่เกิดการระบาดในระบบปลูกได้
กรณีแมลงศัตรูพืช
ให้หมั่นสำรวจแปลงปลูกเป็นประจำ หากเริ่มพบแมลงภายในแปลงปลูก ให้รีบทำการควบคุมเพื่อไม่ให้มีการระบาด
- แมลงกลุ่มปากเจาะดูดให้ฉีดพ่น บิว-เวอร์ หรือ เมตาไลต์ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- หนอนกัดกินใบ ให้ฉีดพ่น ทีเอบี บีทีเอ อัตรา 80-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ผสมร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นให้โดนตัวแมลงทั้งบนใบและใต้ใบ ฉีดพ่น 3 ครั้ง ทุกๆ3-5 วัน
อ้างอิง
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด กรมส่งเสริมการเกษตร
https://www.nstda.or.th/agritec/wp-content/uploads/2020/11/20201130-learn-manage-pest.pdf
05 กันยายน 2567
ผู้ชม 10 ครั้ง