โรครากขาวยางพารา

 

 

โรคยางพารา

          ในช่วงหน้าฝนหากพบดอกเห็ดขึ้นที่โคนต้นยางพารา และดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลม แผ่นเดียวหรือซ้อนกันหลายแผ่นเป็นชั้นๆ เกาะติดกับโคนต้นหรือรากเหมือนหิ้ง ผิวด้านบนของดอกเห็ดเป็นสีเหลืองส้ม เป็น วงสลับสีอ่อนแก่ ขอบดอกเป็นสี ขาว ด้านล่างเป็นสีส้มแดงและเป็นรูเล็กๆ ลักษณะเช่นนี้คือโรครากขาว

          โรครากขาวยางพารา (white root disease) เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus microporus  เป็นโรคทางราก ที่สำคัญที่สุดของยางพารา ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจหากเกิดการระบาดรุนแรงมีทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ก่อนกำหนด สูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้ 

          ลักษณะการทำลาย เชื้อราสามารถเข้าทำลายรากยางพาราได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ในระยะเริ่มแรก จะไม่เห็นลักษณะผิดปกติของต้นยางพาราส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน เมื่อส่วนรากถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำ ใบเหลืองทั้งต้น เมื่อรากถูกทำลายอย่างรุนแรง จะยืนต้นตายทีละต้นจนขยายเป็นวงกว้าง หรือเป็นหย่อม ๆ

การรักษาโรครากขาวยางพาราเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะไม่เห็นลักษณะผิดปกติของต้นยางพาราส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินในระยะแรก  จะพบอาการเมื่อโรคเข้ารุนแรงแล้ว  สิ่งที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนก็ควรขุดรากถอนโคนออกให้หมด และเผาทำลายทิ้งเพื่อป้องกันและรักษาต้นข้างเคียงไม่ให้เป็นโรค

วิธีการป้องกัน

  1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางควรทำลายตอไม้เก่าออกให้หมด ไถพลิกหน้าดินตากแดด เพื่อกำจัดเชื้อราที่ เจริญอยู่ในดินและในเศษไม้เล็กๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดิน
  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาดรุนแรง หลังการเตรียมดินควรปล่อยพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 - 2 ปี หรือปลูกพืช คลุมดินตระกูลถั่ว หรือปลูกพืชอื่น เพื่อลดการระบาดของโรคและพืชที่ปลูกไม่ควรเป็นพืชอาศัยของโรค
  3. แปลงยางที่มีประวัติการเป็นโรครากขาวมาก่อน แนะนำให้ใช้กำมะถันผง อัตรา 150 กรัม/ต้น ใส่ใน หลุมก่อนปลูกยาง เพื่อลดพีเอช (pH) ของดิน ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ถ้าในพื้นที่ที่เป็นโรคอย่างรุนแรง ควรใช้อัตรา 250 กรัม/หลุมปลูกเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด ด่างของดิน ให้ เหมาะต่อการเจริญของเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากขาว

ไตร-แท๊บ

       4. ก่อนปลูกใช้ไตร-แท๊บ รองกันหลุมก่อนปลูก หรือหว่านโคนต้น นำ ไตร-แท๊บ 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 100 - 200 กิโลกรัม รองกันหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัมต่อหลุม หรือใช้ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดิน ราดโคนต้น อัตรา 100 กรัม / น้ำ 20 ลิตร  เพื่อรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นยางพาราข้างเคียงต้นเป็นโรคเพื่อป้องกันโรค โดยขุดร่อง เล็กๆ รอบโคนต้นกว้าง 15-20 ซม. เทไตร-แท๊บ  ลงในร่องรอบโคนต้น ใช้ทุก 1 เดือน หรือใช้ไตร-แท๊บ ร่วมกับสารเคมีตามคำแนะนำหน่วยราชการ

      5. หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรสำรวจแปลงยางสม่ำเสมอ ตรวจดูพุ่มใบเพื่อหาต้นยางที่เป็นโรคใน พื้นที่ที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่เคยเป็นโรคมาแล้วให้ตรวจซ้ำทุก 3 เดือน ต้น ยางเป็นโรครุนแรงควรขุดต้นเผาทำลายและรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี

      6. ต้นยางที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (กว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นโดยการสัมผัสกันของราก และขุดลอกคูทุกปี

 

 

รวบรวมข้อมูล

https://www.opsmoac.go.th

https://nbtworld.prd.go.th

http://www.nakhonsri.doae.go.th

23 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 2621 ครั้ง

Engine by shopup.com