กำจัดหนอนในผัก ด้วย บีทีเอ บีทีเอ (แบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
กำจัดหนอนในผัก ด้วย บีทีเอ บีทีเอ (แบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
กำจัดหนอนในผัก ด้วย ทีเอบี บีทีเอ (แบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
ปัญหาในการปลูกผักใบ ส่วนใหญ่ก็คือ เมื่อปลูกผักแล้วจะมีหนอนเข้ามาทำลาย การใช้สารเคมีฉีดอาจมีสารตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค หรือมีปัญหาการดื้อยาของหนอน เมื่อฉีดพ่นสารเคมีไปแล้วหนอนไม่ตาย ทำให้พืชผักเสียหาย ใบโดนหนอนทำลายจนไม่สามารถตัดขายได้ ภายหลังจึงมีการนำเอาจุลินทรีย์ “บาซิลลัส ทูริงเยนซิส” มาใช้กำจัดหนอน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายหนอนได้ดี ไม่มีสารพิษตกค้าง สามารถใช้กับพืชที่โดนหนอนเข้าทำลายได้ทุกชนิด
แบคทีเรีย บาซิลลัสทูรินเจนซีส (Bacillus thuringiensis) เรียกว่า “BT” ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่ทำหน้าที่เคลือบผิวของพืชสามารถสร้าง สปอร์และพิษในรูปผลึกโปรตีนหลายรูปแบบ เนื่องจากผลึกโปรตีนที่สร้างขึ้นนี้มีฤทธิ์ในการทำลายแมลงศัตรูชนิดต่างๆ
กลไกการทำงานของเชื้อ Bacillus thuringiensis
แบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส จะเข้าทำลายแมลงได้ เมื่อแมลงกิน แบคทีเรียซึ่งมีส่วนประกอบของสปอร์และผลึกโปรตีนเข้าไปในกระเพาะอาหารโดยสภาพความเป็นด่างในกระเพาะอาหาร ส่วนกลาง จะช่วยย่อยสลายผลึกโปรตีนขนาดใหญ่ให้ได้ protoxin และน้ำย่อยโปรตีนจะช่วยย่อยสลาย protoxin ได้สารพิษที่จะเข้า ทำลายเซลล์ผนังกระเพาะอาหารซึ่งสารพิษจากแบคทีเรีย สายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งจะเฉพาะเจาะจงกับจุดเข้าทำลายที่ผนังกระเพาะ อาหารของแมลงแต่ละชนิด เมื่อเซลล์ผนังกระเพาะอาหารถูกทำลาย จะบวมและแตกออกเกิดเป็นรอยแยกที่ผนังกระเพาะอาหารทำให้ อาหาร ของเหลว และเอนไซม์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีสภาพเป็นด่างไหลออกมาปะปนกับน้ำเลือดในช่องว่างของ ลำตัวแมลงซึ่งมีสภาพเป็นกรดมีผลให้แมลงหยุดกินอาหาร เคลื่อนไหวเชื่องช้า แสดงอาการโลหิตเป็นพิษ ชักกระตุก เป็น อัมพาตและตายในที่สุด
- หนอนกินสปอร์และผลึกสารพิษเข้าทางปาก
- สปอร์และผลึกสารพิษ จะเข้าสู่ทางเดินอาหารในตัวหนอน
- สภาพด่างในกระเพาะหนอน จะทำให้ผลึกละลายเป็นสารพิษจะกัดผนัง ลำไส้ และสปอร์เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงอาการโลหิตเป็นพิษ
- หนอนจะหยุดกินอาหาร ภายใน 2 ชม. และตายภายใน 1-2 วัน
ลักษณะการตายของหนอนหลังจากกินใบพืชที่ฉีดพ่นด้วย ทีเอบี บีทีเอ (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)
ทีเอบี บีทีเอ (TAB BTA)
บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ซับสปีซส์ ไอซาไว
(Bacillus thuringiensis subsp. aizawai )
ทีเอบี บีทีเอ ชีวภัณฑ์กำจัดหนอนในผัก ประสิทธิภาพสูง แก้ปัญหาหนอนดื้อยาในผัก
- ใช้ในพืชผัก เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ผักวางตุ้ง และหอม
- ใช้กำจัดหนอนในผักได้หลากหลายชนิด ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก (หนอนรัง) หนอนกระทู้หอม (หนอนหนังเนียว) หนอนกระทู้หลอดหอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อ
ข้อดีของ ทีเอบี บีทีเอ
- เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ไม่มีผลกระทบ ต่อตัวห้ำ ตัวเบียน
- ปลอดภัยต่อพืช ผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
- สามารถใช้แทนสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืชได้ และหาซื้อได้ง่าย
- ลดการดื้อยาของสารเคมีกำจัดแมลง
- สามารถใช้ร่วมกับชีวภัณฑ์ป้องกำจัดโรคพืช บ.ทีเอบี อินโนเวชั่น ได้
วิธีการใช้
- ผสมน้ำ อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (4 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 5-7 วัน
คำแนะนำ การใช้ ทีเอบี บีทีเอ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
1. ฉีดพ่น ทีเอบี บีทีเอ ทันที เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรพ่นระยะที่หนอนยังมีขนาดเล็ก หรือเพิ่งออกไข่
2. ควรฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็นเนื่องจาก ทีเอบี บีทีเอ (TAB BTA) เป็นสารชีวภัณฑ์ ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิตแสงแดดจะทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อลดลง
เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา
เอกสารอ้างอิง
ทิพย์วดี อรรถธรรม. 2527. บทปฏิบัติการโรควิทยาของแมลง. ภาควิชากีฏ วิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 107 น.
อัจฉรา ตันติโชดก. 2544. บีที การควบคุมแมลงศัตรูพืช. เอกสารวิชาการ การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. น. 183-203.
Chanpaisaeng, J., N. Thaveechai, T. Attathom and G. Theeragool. 1993. Novel isolations of Bacillus thuringiensis found in Thailand. J. Agric. Science. 6: 55-66. (in Thai)
Schuler, T.H., G.M. Poppy, B.R. Kerry and I. Denholm. 1998. Insect-resistance transgenic plant. Trends Biotechnol. 16: 168-175.
04 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 1845 ครั้ง