เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราดี เชื้อราร้าย แตกต่างกันอย่างไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราดี เชื้อราร้าย แตกต่างกันอย่างไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราดี เชื้อราร้าย แตกต่างกันอย่างไร
ในการปลูกพืชชนิดใดก็ตามย่อมคาดหวังถึงการเจริญเติบโต ออกดอกออกผลอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าเป็นชาวสวนชาวไร่ด้วยแล้วเมื่อลงทุนก็ย่อมมีเป้าหมายถึงผลกำไร แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญที่มักสร้างความน่ากังวลใจเป็นอย่างมากคือ “เชื้อราร้าย” ที่มักทำลายผลผลิต ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ วิธีแก้ปัญหาของเกษตรกรจำนวนมากจึงเลือกนำ “เชื้อราดี” อย่าง “เชื้อราไตรโคเดอร์มา” เข้ามาจัดการ แล้วเชื้อรา 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร ไปหาคำตอบกันเลย
เชื้อราร้ายที่มักก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ในพืช
เชื้อราร้าย คือ กลุ่มเชื้อราที่มักสร้างปัญหาให้กับผลผลิตจนไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็น หรืออธิบายง่าย ๆ มันทำให้เกิดโรคในพืชนั่นเอง ซึ่งตัวอย่างเชื้อราร้ายที่พบเจอบ่อย เช่น
- เชื้อรา Phytophthora sp. มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อยู่อาศัยในดิน มักสร้างสปอร์แบบผนังหนาจึงอาศัยอยู่ในดินได้ยาวนานแม้สภาพแวดล้อมจะไม่ค่อยเหมาะสม ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า โรคตาเสือ
- เชื้อรา Pythium sp. จะเกิดและอาศัยอยู่ในดินถูกจัดอยู่ในกลุ่มซาโพไฟท์ (saprophyte) หรือกลุ่มปรสิตต่อพืชแทบทุกชนิด เป็นอีกสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า โรคกล้าเน่ายุบ โรคเน่าคอ
- เชื้อรา Sclerotium sp. อาศัยอยู่ในดินเช่นกัน เป็นสาเหตุของการเกิดโรครากเน่าโคนเน่ากับพืชหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกหรือไม้ผลก็ตาม
- เชื้อรา Rhizoctonia sp. สามารถพบเจอได้ทั่วไป เป็นปรสิตกับพืชแทบทุกชนิด มักเข้าทำลายรากและลำต้นใต้ดินส่งผลให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า โรคกาบใบแห้งในข้าว โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น
- เชื้อรา Fusarium sp. กลุ่มเชื้อราที่พบเจอได้ตามดินทั่วไป ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มักทำให้เกิดโรคเหี่ยวเหลือง โรคกิ่งแห้ง
จัดการปัญหาโรคในพืชด้วยเชื้อราดี “เชื้อราไตรโคเดอร์มา”
จากประเภทของเชื้อราร้ายที่กล่าวมาจะเห็นว่ามีความอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้เชื้อราดี ซึ่ง “เชื้อราไตรโคเดอร์มา” เป็นคำตอบที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ทั้งนี้การจะทำให้ได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจก็ต้องเลือกสายพันธุ์ที่ผ่านการวิจัยและยืนยันเรียบร้อยนั่นคือ “เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009 (ไตร-แท๊บ)” จาก TAB INNOVATION หากสนใจศึกษากลไกการทำงานของ ไตรแท๊บ (เชื้อราดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา)
เชื้อราดีชนิดนี้จะเน้นการป้องกันโรคตั้งแต่ก่อนเพาะกล้า มีกลไกการทำงานได้หลายมิติช่วยจัดการปัญหา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคกาบใบแห้ง โรคเหี่ยวเหลือง โรคหัวเน่า โรคใบไหม้ โรคตายพลาย และยังช่วยสร้างการเจริญเติบโต ใช้ได้ทั้งบนต้นและลงดิน
เมื่อสรุปแล้วจึงเห็นว่าเชื้อราดีอย่าง “เชื้อราไตรโคเดอร์มา” สามารถป้องกันการเกิดโรคของพืชอันมีสาเหตุจากเชื้อราร้ายได้ดีเยี่ยม เกษตรกรสามารถหันมาใช้งานได้อย่างมั่นใจเพื่อผลผลิตตามความคาดหวังของตนเอง ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม วิธีใช้งานเบื้องต้นของ ไตรโคเดอร์มา วิดีโอนี้จะเป็นการใช้กับเมล่อน
04 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 1048 ครั้ง