ไตรโคเดอร์มา คืออะไร ใช้รักษาโรคในทุเรียนอย่างไร มีขั้นตอนยังไงบ้าง ?

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

ไตรโคเดอร์มา คืออะไร ใช้รักษาโรคในทุเรียนอย่างไร มีขั้นตอนยังไงบ้าง ?

          ด้วยการปลูกทุเรียนถือเป็นผลไม้ยอดนิยมของทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมาก เมื่อบวกกับแต่ละปีจะออกผลได้แค่ฤดูกาลเดียวเท่านั้น ส่งผลให้ราคาขายสูง เกษตรกรสวนทุเรียนจำนวนมากจึงต้องพยายามหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ต้นทุเรียนของตนเองเกิดโรค และหนึ่งในตัวช่วยที่มาแรงต้องยกให้กับ “ไตรโคเดอร์มา” สงสัยหรือไม่ว่าคืออะไร รักษาโรคในทุกเรียนอย่างไร มีขั้นตอนยังไงบ้าง มาหาคำตอบทั้งหมดกันเลย

โรคพืชทางดินในทุเรียนที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ 

ลำดับแรกมาทำความรู้จักกับโรคพืชทางดินอันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุเรียนไม่เติบโตและถึงขั้นตายได้เลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่โรคที่เกิดมักมาจากเชื้อรา ได้แก่

  • เชื้อรา Phytophthora sp. ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่ากับทุเรียน
  • เชื้อรา  Rhizoctonia sp. ทำให้เกิดโรคใบติดในทุเรียน
  • เชื้อรา Fusarium sp. ทำให้เกิดโรคกิ่งแห้ง ในทุเรียน

   เชื้อรา Phytophthora sp. ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่ากับทุเรียนเชื้อรา  Rhizoctonia sp. ทำให้เกิดโรคใบติดในทุเรียน

ทั้งนี้สามารถศึกษาสาเหตุและการแก้ปัญหาโรคพืชทางดิน ที่เราทำข้อมูลเตรียมไว้ให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจละมีแนวทางการแก้ปัญหาเพิ่มเติมผ่านบทความได้เลย สาเหตุและการแก้ปัญหาโรคพืชทางดิน 

 

ไตรโคเดอร์มา คืออะไร ใช้รักษาโรคในทุเรียนได้อย่างไร

          ไตรโคเดอร์มา คือ เชื้อราปฏิปักษ์ชนิดหนึ่งพบได้ตามดินและซากพืช ทำหน้าที่ในการควบคุมเชื้อราร้ายตัวอื่น ๆ ลดการเกิดโรคกับทุเรียน ตามหลักการแล้วมันจะตรงเข้าทำลายเชื้อราตัวร้ายด้วยวิธีพันรัด หรือการแทงลงไปถึงเส้นใยส่งผลให้เชื้อราเหล่านั้นค่อยๆ เกิดการเฉา เหี่ยวตัว และตายลงไปในที่สุด หากอยากค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคพืชทางดินปัจจัยในการเกิดโรคต่างๆ บทความนี้จะช่วยอธิบายเกี่ยวกับ ไตรโคเดอร์มาเชื้อรากำจัดโรคพืชทางดิน 

 

แนะนำไตรโคเดอร์มาคุณภาพสูงไตร-แท๊บ

          อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรจะเลือกใช้งานเชื้อรา ไตรโครเดอร์มา ควรเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการวิจัยและได้รับคัดเลือกมาแล้ว เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009 ภายใต้ชื่อการค้า “ไตร-แท๊บ” ไตร-แท๊บ คืออะไร?

 

“ไตร-แท๊บ” ไตรโคเดอร์มาคุณภาพสูง

 

          ไม่ใช่แค่การการกำจัดเชื้อราในดินเท่านั้น “ไตร-แท๊บ” ยังช่วยละลายฟอสเฟตได้ถึง 80.25% จากการผลิตเอนไซม์ฟอสฟาเทสและปล่อยกรดอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายฟอสฟอรัสในรูปแบบฟอสเฟตชนิดละลายน้ำได้ ต้นทุเรียนจึงนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีคุณภาพ ควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราในดิน พืชต้านทานต่อโรคได้ดี และเจริญเติบโตตามที่ควรจะเป็นอีกด้วย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์ได้ที่

 

ควรรดไตรโคเดอร์มาตอนไหนดี

          สำหรับการป้องกันโรคพืชทางดินโดยใช้ไตรโคเดอร์มาควรทำเพื่อป้องกันตั้งแต่ก่อนปลูกและก่อนการระบาดของโรค โดยนำ “ไตร-แท๊บ” 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับจัสเตอร์ตามอัตราแนะนำ (แบ่งใช้จนครบรอบในการปลูกพืช) ฉีดพ่นลงดินทุก ๆ 5-7 วัน โดยทั้งนี้ยังมีข้อมูลจากตัวผลิตภัณฑ์ จัสเตอร์จัสเตอร์คืออะไร?

 จัสเตอร์ สารปรับปรุงดินชนิดน้ำ

 

จากข้อมูลเหล่านี้คงทำให้ชาวสวนที่ปลูกทุเรียนช่วยลดความกังวลใจลงได้บ้าง ลองนำผลิตภัณฑ์จากเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ตามคำแนะนำเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกันได้เลย

26 มีนาคม 2567

ผู้ชม 2493 ครั้ง

Engine by shopup.com