สาเหตุและการแก้ปัญหาโรคพืชทางดิน
สาเหตุและการแก้ปัญหาโรคพืชทางดิน
สาเหตุและการแก้ปัญหาโรคพืชทางดิน
ปัจจุบันสภาพดินในแปลงปลูกพืชทั่วไปมีความเสื่อมโทรมลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมี สารปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี โดยไม่เคยปรับปรุงบำรุงดิน จึงทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ประสบปัญหาการระบาดของโรคเชื้อราทางดิน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของ จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย
เชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน ที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทยมีประมาณ 5 ชนิด
- เชื้อรา Phytophthorasp สาเหตุ โรครากเน่าโคนเน่า พืชผัก ไม้ผลทุเรียน ส้ม เผือก
โรครากเน่า โคนเน่า ทุเรียน โรคตาเสือในเผือก
- เชื้อรา Pythiumsp. สาเหตุ โรคกล้าเน่ายุบ พืชผัก
โรคกล้าเน่ายุบ กล้าพืชผัก
- เชื้อรา Sclerotium sp. สาเหตุ โรคโคนเน่า พืชผัก
โรคโคนเน่าในพืชผัก
- เชื้อรา Rhizoctonia sp. สาเหตุ โรคโคนเน่า พืชผัก กาบใบแห้งข้าว และ โรคใบติดในทุเรียน
โรคกาบใบแห้งในข้าว โรคใบติดในทุเรียน
- เชื้อรา Fusarium sp. สาเหตุโรคเหี่ยวเหลือง พืชผัก กล้วย โรคกิ่งแห้ง ในทุเรียน
โรคเหี่ยวเหลือง โรคเหี่ยวเหลืองกล้วย โรคกิ่งแห้งทุเรียน
การจะป้องกันเชื้อโรคทางดินต้องทำตั้งแต่ก่อนปลูกและก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรค เพราะเมื่อเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ลำต้นแล้ว การมาใช้สารเคมีจัดการทีหลังแล้วหวังว่าสารเคมีที่ฉีดพ่นไปจะเข้าไปฆ่าเชื้อโรคให้ถึงในลำต้นนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะสาเหตุของโรคนั้นอาศัยอยู่ที่ดิน
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009 (ไตร-แท๊บ) นอกจากที่ใช้เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืชทางดินได้ดีแล้ว ยังพบว่า ไตร-แท็บ สามารถละลายฟอสเฟตได้สูงสุดถึง 80.25% เพราะเชื้อสามารถผลิตเอนไซม์ฟอสฟาเทส (phosphatase) และปลดปล่อยกรดอินทรีย์ (organic acids) ทำให้ฟอสเฟตละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในสภาพดินที่เหมาะสมต่อการเชื้อราไตรโคเดอร์มาและต้นพืช มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.0-6.5 (กรดอ่อน) แต่ถ้าสภาพดินไม่เหมาะสมธาตุอาหารในดินอาจจะละลายออกมาได้น้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารบางชนิดอาจจะละลายออกมามากเกินไป จนเป็นพิษต่อพืช และส่งผลให้เชื้อไตรโคเดอร์มาลดลง เชื้อโรคพืชในดินเพิ่มขึ้น
แนวทางการป้องกันโรคพืชทางดิน
- ควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ ธาตุอาหาร ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความอุดมสมบูรณ์ดิน
- ใช้ จัสเตอร์ เป็นสารปรับปรุงสภาพดินที่เป็นกรดชนิดน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่าง มีอนุภาคขนาดเล็ก ใช้ปริมาณน้อย ที่มีคุณสมบัติช่วยรักษาค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้สมดุลและทำให้โครงสร้างของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชใช้ อัตราการใช้น้ำ ฉีดพ่นลงดิน 80-100 ลิตร/ไร่
pH ต่ำกว่า 4.5 15 ลิตร/ไร่
pH 4.5-5.5 10 ลิตร/ไร่
pH 5.6-6.5 5 ลิตร/ไร่
หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้จัสเตอร์ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่
(ไม่ควรผสมกับสารกำจัดวัชพืชหากมีการใช้สารกำจัดวัชพืช ควรเว้นระยะเวลา 2 สัปดาห์)
- ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับจัสเตอร์ ตามอัตราแนะนำ (แบ่งใช้จนครบรอบในการปลูกพืช) ฉีดพ่นลงดิน เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดินและการสะสมของธาตุอาหารในดิน
เอกสารอ้างอิง
- กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเกษตรและ สหกรณ์จังหวัด กำแพงเพชร .แผ่นพับด้านการเกษตร.การจัดการดินกรด. สถานี พัฒนาที่ดิน กำแพงเพชร หมู่ 3 อาคารที่ทำการ ถนน พหลโยธิน ตำบล คลองแม่ลาย อำเภอเมือง กำแพงเพชร 62000
- จิระเดช แจ่มสว่าง. 2563. ไตรโคเดอร์มาเชื้อราปฎิปักษ์ควบคุมโรคพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม หน้า 566
- Athakorn Promwee. Montree lssarakraissilia chamswarng. C.,Yenjit P.and Intana W. 2014. Phosphate sulubilization and growth promotion of rubber tree (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) by Trichoderma strains. Journal of Agricultural Science, 6(9):8-20.
23 พฤษภาคม 2567
ผู้ชม 985 ครั้ง