รู้จัก ไตรโคเดอร์มา เชื้อรากำจัดโรคพืช

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

 รู้จัก ไตรโคเดอร์มา เชื้อรากำจัดโรคพืช

              ในขณะนี้เกษตรกรประสบปัญหาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราทางดิน (Soil borne diseases)   โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora และโรคเหี่ยวเหลือง ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium การจัดการโรคค่อนข้างยากในสภาพแปลง เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคมีความสามารถในการอยู่รอดในดินได้ดี การใช้สารเคมีต้นทุนสูง ดังนั้นการจะกำจัดโรคให้ได้ผลจึงจำเป็นต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน เชื้อราไตรโคเดอร์มา  ถือว่าเป็นแนวทางการป้องกันก่อนการเกิดโรค  ที่ดีมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และยังมีความปลอดภัยสูง   

             เชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) เป็นเชื้อราที่พบในดิน และบนซากพืชทั่วไป มีความสามารถแข่งขันกับเชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อสาเหตุโรคพืชทางดินได้ดี โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ผ่านการวิจัยและคัดเลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009   จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายกับกรมวิชาการเกษตร ชื่อการค้า ไตร-แท็บ   จากงานวิจัยพบมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม โรคของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเฉพาะใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดที่เชื้อราทางดิน (Soil borne diseases)  และยังช่วยช่วยชักนำให้พืชต้านทานโรค  ส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช  


รูป A     ลักษณะเชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัมสายพันธุ์ เอ็นเอสที-009   บนอาหารเลี้ยงเชื้อ

รูป B     ลักษณะเส้นเส้นใยและสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอล  (Scanning Electron Microscope

 

โดยมีกลไกที่มีผลต่อเชื้อโรคและพืชดังนี้

1.การแข่งขัน   (Competition) ในการแย่งพื้นที่และอาหาร กับเชื้อสาเหตุโรคพืช

2.การเป็นปรสิต (parasitism)   กับเชื้อโรคพืชในการพัดรัดและย่อยผนังเส้นใยของเชื้อโรค                         

3.การสร้างสารปฏิชีวนะ และสารทุติยภูมิ (Antibiotics and secondary metabolites production)   การสร้างสารปฏิชีวนะหรือสารทุติยภูมิได้หลายชนิด ที่ไปยับยั้งในการเจริญเส้นใยของเชื้อสาเหตุโรค ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญและ เพิ่มปริมาณต่อไปได้                                                                                                        

4. ส่งเสริมการเจริญเติบโต และ การชักนำให้พืชต้านทานโรค (Induced disease resistance) สามารถครอบครองรากจะเจริญบนรากพืชปลดปล่อยสารกระตุ้นได้หลายชนิด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน ที่ชักให้พืชต้านทานต่อเชื้อโรค และช่วยในการเจริญเติบโต

5.การละลายฟอสเฟตในดิน (Phosphate solubilizing ) ด้วยการสร้างกรดอินทรีย์ และฮอร์โมนพืชบางชนิดทำให้ละลายธาตุฟอสฟอรัสและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในพืช

 

โรครากเน่าโคนเน่า ทุเรียน  ( Root and stem rot)

 สาเหตุเกิดจาก  เชื้อราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา (Phytophthora palmivora )   เป็นเชื้อมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ในดิน เชื้อจะสามารถสร้างสปอร์มีผนังหนา (chlamydospores)  ที่ทนสภาพแวดล้อมได้ดี มีชีวิตอยู่ในดินได้นานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะ

ลักษณะอาการโรค  เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่อ อาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

  

 

การแพร่กระจายของโรค

สภาพที่เหมาะสมต่อการการแพร่กระจายของโรค  น้ำและชื้นหรือมีน้ำในดิน เชื้อที่พักตัวในดินจะงอกสร้างสปอร์ที่มีหางคล้ายแส้ (zoospores)  ช่วยทำให้เคลื่อนย้ายไปกับน้ำเร็ว  เข้าสู่ต้นพืชได้ง่าย 

การป้องกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า

  1. 1. เน้นการใช้เพื่อป้องกันก่อนการเกิดโรค
  2. ปรับสภาพแปลงปลูกให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกและเชื้อราไตรโคเดอร์มา

    ให้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดิน pH 5.5-6.5

  1. ใช้ไตร-แท็บองก้นหลุมก่อนปลูก หว่านโคนต้น

      อัตราไตร- แท๊บ 1 กิโลกรัมผสม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 50 - 100 กิโลกรัม   รองก้นหลุมก่อนปลูก                   

      อัตรา 250-500 กรัมต่อหลุม  หว่านโคนต้น อัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร

  1. ฉีดพ่นลงดิน หรือปล่อยระบบน้ำ อัตรา ไตร-แท๊บ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน 
  2. ในกรณีต้นเป็นโรคแล้วใช้ชีวภัณฑ์ ใช้ไตร-แท๊บ ร่วม แบคทีเรีย บาซิลัส ซับทิลิส (เจน- แบค

          อัตรา  100+100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ชีวภัณฑ์ผสมร่วมกับสารเคมีในกลุ่มที่ใช้ควบคุมเชื้อรา Phytophthora  ตามอัตราแนะนำ

 

  

 

ข้อมูลอ้างอิง

- จิระเดช แจ่มสว่าง. 2563. ไตรโคเดอร์มาเชื้อราปฎิปักษ์ควบคุมโรคพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน    

นครปฐม หน้า 566

- ประเสริฐ บ., พลอยบัว ส. และ บุญญฤทธิ์ ฉ. (2556) การศึกษาเชื้อไตรโคเดอร์ม่าในการควบคุมโรคราเน่าโคนเน่าทุเรียน วารสารสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 4(1), 37-43.

- วิชัยพัฒน์ ด., จีนัง เ. และ วิเชียร ส. (2556) การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสำหรับควบคุมโรคราเน่า-โคนเน่าทุเรียน ในเขตร้อนชื้นภาคใต้ วารสารพืชศาสตร์ 60(1), 1-7

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 594 ครั้ง

Engine by shopup.com