โรคกรีนนิ่งและอาการขาดธาตุสังกะสีในส้ม

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคกรีนนิ่งและอาการขาดธาตุสังกะสีในส้ม

          ส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง และส้มที่ขาดธาตุสังกะสีจะแสดงลักษณะอาการผิดปกติหลายอย่างที่คล้ายกัน จนทำให้เกษตรกรเกิดความสับสนเมื่อพบอาการที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกและอาจตัดสินใจผิดพลาดในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ธาตุอาหาร และแมลง จึงควรทราบลักษณะอาการของโรคกรีนนิ่ง และการขาดธาตุสังกะสี เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการที่ใช้แก้ไขนั้นสามารถรักษาอาการของต้นพืชได้จริงๆ

          โรคกรีนนิง (Citrus greening) เกิดจากเชื้อ Candidatus Liberibacter asiatucus เป็นโรคที่สำคัญในพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะในกลุ่มส้มเปลือกล่อน (mandarin) กลุ่มส้มติดเปลือก (sweet orange) รวมทั้งส้มโอ (pomelo) (Citrus maxima) และกลุ่มมะนาว (small acid lime) (Citrus aurantifolia) ต้นพืชที่เป็นโรคกรีนนิ่ง จะแสดงอาการทรุดโทรม ใบมีขนาดเล็กลง ใบเรียว ชี้ตั้ง ใบซีดเหลืองลักษณะ คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี กิ่งแห้งตายจากส่วนยอด ผลผลิตลดลง คุณภาพผลผลิตต่ำ และผลมักจะร่วงก่อน อายุเก็บเกี่ยว ต้นส้มจะแสดงอาการใบเหลืองและอาการทรุดโทรมและตายเพียงในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี หลังจากเริ่มแสดงอาการ ซึ่งมีเพลี้ยไก่แจ้ส้มส้ม เป็นพาหะนำโรค

 

          สำหรับธาตุสังกะสี เป็นจุลธาตุที่ไม้ผลส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการขาดมากกว่าธาตุชนิดอื่น โดยทั่วไปจะพบในดินที่เป็นด่างเนื่องจากจะทำให้สังกะสีละลายออกมาได้น้อย ในดินกรดที่มีลักษณะหยาบอินทรียวัตถุน้อย ก็สามารถเกิดการขาดธาตุสังกะสีได้เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นดินที่มีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูงจะทำปฏิกิริยากับสังกะสี ส่งผลให้พืชไม่สามารถดูดสังกะสีจากดินไปใช้ได้ ส้มที่ขาดสังกะสีจะแสดงอาการบนใบที่แตกใหม่ โดยจะมีลักษณะด่างเหลืองอย่างชัดเจนขึ้นระหว่างเส้นใบ ทำให้เกิดลักษณะด่างสีเขียวอ่อนหรือเหลืองบนพื้นใบสีเขียวเข้ม กรณีที่ขาดสังกะสีอย่างรุนแรงใบที่เกิดใหม่จะแตกยอดเป็นพุ่มและชี้ตั้ง ใบร่วงและกิ่งแห้งตายจากยอด

 

โดยจะมีความแตกต่างกันคืออาการของโรคกรีนนิ่งใบจะมีปื้นสีเหลืองกระจายทั้งสองฝั่งของใบไม่เหมือนกัน แต่ถ้าพืชขาดธาตุสังกะสีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นทั้งสองฝั่งของใบพืชจะเหมือนกัน

 

 

แนวทางการป้องกัน

โรคกรีนนิ่ง

  • ใช้ต้นพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ ที่ปลอดโรค
  • การควบคุมเพลี้ยไก้แจ้ส้มสายพันธุ์เอเชีย (Diaphorina citri) ซึ่งเป็นแมลงพาหะ โดยใช้ บิว-เวอร์ หรือเชื้อราบิวเวอเรีย บัสเซียน่า เพื่อควบคุม อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด

ควรใช้ บิว-เวอร์ ร่วมกับ เบนดิกซ์ จะทำให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมตัวอ่อนเพลี้ยหอยได้ดีขึ้น

              การขาดธาตุอาหารในพืช

  • ควรตรวจวิเคราะห์ดิน ในแปลงปลูกในไม้ผลควรส่งตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
  • ควรปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่ในช่วง 0 – 6.8   

                       ใช้จัสเตอร์ ฉีดพ่นลงดินอัตราการใช้น้ำ 80-100 ลิตร/ไร่

                pH ต่ำกว่า 4.5                                 15 ลิตร/ไร่

                pH 4.5-5.5                                       10 ลิตร/ไร่

                pH  5.6-9.5                                        5 ลิตร/ไร่

                                หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้จัสเตอร์ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่ (ไม่ควรผสมกับสารกำจัดวัชพืชหากมีการใช้  

          สารกำจัดวัชพืช ควรเว้นระยะเวลา 2 สัปดาห์

  • เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารรองในพืช ควรฉีดพ่นปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม  โปรมิกซ์ อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุก 7-10  วัน หรือ  ทีเอบี ซิงค์ อัตรา  5-10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน

 

 

เรียบเรียง : ปรางค์นัดดา ประกอบนา

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 3005 ครั้ง

Engine by shopup.com