“ไตร-แท๊บ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต”

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

“ไตร-แท๊บ จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต”

       เกษตรกรที่ปลูกพืชมักเจอปัญหาพืชเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และแก้ปัญหาโดยการใส่ปุ๋ยเพิ่ม แต่พืชไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่ไป ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินถูกตรึงเอาไว้อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้จุลินทรีย์ละลายธาตุอาหารและการปรับค่าความเป็นกรด-ด่างในดิน  จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย

ไตร-แท๊บ เป็นชีวภัณฑ์ผลิตจากเชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ NST-009 นอกจากจะใช้เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืชแล้ว ยังมีรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ NST-009 สามารถละลายฟอสเฟตได้สูงสุดถึง 80.25% โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถผลิตเอนไซม์ฟอสฟาเทส (phosphatase) และปลดปล่อยกรดอินทรีย์ (organic acids) ออกมา เช่น กรดฟอร์มิค อะซิติค โปรปิโอนิค แลคติค ไกลโคลิค ฟูมาริค และซัคซินิค เพื่อเคลื่อนย้ายฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตออกมา ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้และพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  ซึ่งในการละลายฟอสเฟตยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน มีความสำคัญต่อการปลูกพืชมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน  ถ้าดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจจะละลายออกมาได้น้อย ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารบางชนิดอาจจะละลายออกมามากเกินไป จนเป็นพิษต่อพืชได้ สำหรับพืชทั่วๆไปจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่ 6.0-6.5 (กรดอ่อน) เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด พืชสามารถดึงธาตุอาหารไปใช้ได้มากชนิดที่สุด

ฟอสฟอรัส (P) เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ในดินส่วนใหญ่จะมีฟอสฟอรัสตกค้างอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีให้กับพืชระหว่างการเพาะปลูก แต่พืชดึงไปใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น จะเหลือฟอสฟอรัสอยู่ในดินโดยถูกยึดตรึงเอาไว้ จึงทำให้เกิดการสะสมของฟอสฟอรัสในดินมีมากถึง 95-99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชไม่สามาถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การขาดฟอสฟอรัสในพืชจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก

พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีลักษณะต้นแคระแกร็น ใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่างจะมีสีม่วงบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล

 

แนวทางการแก้ปัญหา

  1. ควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ ธาตุอาหาร ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความอุดมสมบูรณ์ดิน
  2. ใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับจัสเตอร์ ตามอัตราแนะนำ ฉีดพ่นลงดิน เพื่อละลายธาตุอาหารในดิน และพืชดึงไปใช้ประโยชน์ได้
  3. ใช้ จัสเตอร์ เป็นสารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ ที่มีคุณสมบัติช่วยรักษาค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้สมดุลและทำให้โครงสร้างของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ใช้ จัสเตอร์ ปรับสภาพดินให้เป็นกลาง ฉีดพ่นลงดินอัตราการใช้ 80-100 ลิตร/ไร่

pH  ต่ำกว่า 4.5                        15 ลิตร/ไร่

pH  4.5-5.5                             10 ลิตร/ไร่

pH  5.6-9.5                               5 ลิตร/ไร่

หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้จัสเตอร์ในอัตรา 5 ลิตร/ไร่
(ไม่ควรผสมกับสารกำจัดวัชพืชหากมีการใช้สารกำจัดวัชพืช ควรเว้นระยะเวลา
2 สัปดาห์)

 

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 3210 ครั้ง

Engine by shopup.com