กลไกการทำงานของ ไตร-แท๊บ (เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ NST-009)
กลไกการทำงานของ ไตร-แท๊บ (เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ NST-009)
ไตร-แท๊บ เป็นชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชชนิดผงพร้อมใช้งาน ที่ผลิตจากเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม (Trichoderma asperellum สายพันธุ์ NST-009) ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชได้หลากหลายชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคกาบใบแห้ง โรคหัวเน่า โรคใบไหม้ และโรคตายพลาย และยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งบนต้นและลงดิน
การใช้ไตร-แท๊บ เน้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคควรทำตั้งแต่เริ่มเพาะกล้าไปจนถึงเก็บเกี่ยวและควรใช้วิธีผสมผสานจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยกลไกการทำงานของ ไตร-แท๊บ มีดังนี้
1. การแข่งขันกับเชื้อสาเหตุโรคพืช (Competition)
ไตร-แท๊บ เป็นเชื้อราที่สามารถเจริญเข้าแทนที่เชื้อราต่างๆ ในบริเวณรากพืชได้ดี โดยจะแย่งพื้นที่ อาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อเชื้อโรคพืช ทำให้เชื้อโรคพืชอ่อนแอ ไม่สามารถเข้าทำลายพืชได้
2.การเป็นปรสิตต่อเชื้อสาเหตุโรค (Mycoparasitism)
ไตร-แท๊บ สามารถเข้าทำลายเชื้อราโรคพืชได้โดยตรง ด้วยการพันรัด และแทงเข้าสู่ผนังเซลล์ของเชื้อราโรคพืช โดยใช้น้ำเลี้ยงและสารต่างๆ เป็นอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโต ทำให้เชื้อราโรคพืชหยุดการเจริญและตาย
3.การสร้างสารปฏิชีวนะ และสารทุติยภูมิ (Antibiotics and secondary metabolites production)
ไตร-แท๊บ สามารถสร้างสารปฏิชีวนะหรือสารทุติยภูมิได้หลายชนิด ที่ไปยับยั้งในการเจริญเส้นใยของเชื้อสาเหตุโรค ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญและเพิ่มปริมาณต่อไปได้
4.การชักนำให้พืชต้านทานโรค (Induced host resistance)
ไตร-แท๊บ สามารถครอบครองรากจะเจริญบนรากพืชปลดปล่อยสารกระตุ้นได้หลายชนิด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนของยีน ที่ชักให้พืชต้านทานต่อเชื้อโรค และช่วยการเจริญเติบโต
5.การปรับเปลี่ยนบริเวณรากพืช (rhizosphere modification)
ไตร-แท๊บ สามารถปรับเปลี่ยน ค่าความเป็นกรด-ด่าง บริเวณรากพืชที่ช่วยเพิ่มความสามารถครอบครองรากพืชและส่งเสริมการควบคุมโรคพืช
เอกสารอ้างอิง
ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืช. รศ. ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
กรมวิชาการเกษตร
24 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 243 ครั้ง