โรคเหี่ยว โหระพาและกะเพรา

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคเหี่ยว โหระพาและกะเพรา

          โหระพาและกะเพรา ถือเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตเร็วถ้าปลูกเป็นผักสวนครัว แต่ถ้าปลูกเพื่อเป็นการค้าและยิ่งปลูกเพื่อการส่งออกแล้วปัญหาที่พบคือโรคและแมลง และโรคที่สำคัญคือโรคเหี่ยว เพราะเมื่อต้นเป็นโรคแล้วจะทำให้ต้นตายไม่สามารถเก็บผลิตได้  ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคถือเป็นแนวทางการควบคุมโรคที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

โรคเหี่ยวเกิดจากเชื้อรา : Fusarium oxysporum

เป็นราอาศัยในดิน พบได้ทั่วไปทุกแห่ง สามารถแยกจากพืชที่เป็นโรค ลักษณะเชื้อราสร้างเส้นใยฟู ละเอียด สีขาว สีขาวแซมม่วง สีชมพูม่วง สีม่วงอ่อน จนถึงสีม่วงเข้ม เจริญอย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดโรคกับพืชเศรษฐกิจหลาย ชนิด เช่นพืชไร่, พืชหัว, ผัก, ไม้ประดับและไม้ผล ทั้งในระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว

 

เชื้อสามารถพักตัวอยู่ในดินได้หลายปี จะเข้าทำลายต้นพืชจากทางราก และเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำในลำต้นพืช แล้วขวางกั้นการดูดน้ำขึ้นสู่ต้นพืช ทำให้ใบพืชเหี่ยว และยืนต้นตาย

 

ลักษณะอาการ: อาการของโรคที่พบ  ส่วนยอดของต้นเริ่มแสดงอาการ แล้วใบเหลือง จากนั้นก็ จะเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล อาการเหี่ยวเริ่มจากส่วนยอดของต้นลงมา จากนั้นอาการเนื้อเยื่อท่อลำเลียงเน่าเป็นสี น้ำ ตาลเริ่มพบเห็นชัดเจนบริเวณส่วนโคนต้น และรากเน่าเสียหายเป็นสีน้ำตาล ทำให้ต้นพืชแสดงอาการเหี่ยวแห้ง และยืนต้นตายไปในที่สุด สภาพแวดล้อมที่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์สูง

 

การป้องกันกำจัด :

  1. ก่อนปลูกพืชควรไถพรวนตากดิน 2-3 ครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคพืชในดิน

ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่างที่ 6.5-7.0 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่

            1.1 pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่

            1.2 ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่

            1.3 ช่วง pH 5.5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่

  1. เพื่อปรับสภาพของดินก่อนปลูกและลดปริมาณเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดิน ใช้ไตร-แท็บ 1 กิโลกรัมผสม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม ใช้ ฮิวมิค พลัส อัตรา 3  กก.ต่อไร่ .ใส่ในแปลงปลูก

      3.ก่อนย้ายต้นกล้าปลูกในแปลง ควรแช่รากด้วย ไตร-แท็บ อัตรา 100 กรัมผสมเบนดิกซ์ 3 ซีซีต่อน้ำ 5 ลิตร นาน 15-30 นาที

  1. ฉีดพ่นลงดินด้วย ไตร-แท๊บ (เชื้อราไตรโครเดอร์มา) สลับกับ เจน-แบค (เชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทิลิส) อัตรา 100 กรัม ร่วมกับเบนดิกซ์ อัตรา 3 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันโรค แต่ในกรณีโรคระบาดสามารถฉีดพ่น ไตร-แท๊บ ร่วมกับ   เจน-แบค ตามอัตราแนะนำ ทุก 3-5 วัน
  2. ควรเก็บต้นที่แสดงอาการห่างจากแปลงและทำลายทิ้ง

 

 

 

รวบรวมข้อมูลจาก

อภิรัชต์ สมฤทธิ์  ธารทิพย ภาสบุตร และ อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว.การศึกษาพืชอาศัย และเขตการ

แพร่กระจายของเชื้อรา Fusarium oxysporum สาเหตุโรคเหี่ยวของพืชในประเทศไทย

กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการ  อารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.

 

อภิรัชต์ สมฤทธิ์. 2544. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อ Fusarium oxysporum f. sp. cubense  

                          สาเหตุโรคตายพรายของกล้วยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.

                          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 133 หน้า

 

https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2021.628611/full

 

================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
================================================

#โหระพา #กะเพรา #โรคเหี่ยว 

#ไตรแท๊บ #ไตรโคเดอร์มา #เจนแบค #บาซิทัช #บาซิลัสซับทีลิส #ชีวภัณฑ์ #พืชหัว #บำรุงดิน #เพิ่มผลผลิต #จัสเตอร์ #สารปรับปรุงสภาพดิน #ฮิวมิคพลัส #ทีเอบี #ทีเอบีอินโนเวชั่น

#Basil #Fusarium #TRITAB #Trichoderma #JENBAC #BACITUS #BacillusSubtilis #BS #BIOCONTROL #Safe #ResidueFree #soil #improvement #Juster #SoilAdjuster #HumicPlus #HumicAcid #TAB #Tabinnovation

30 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 12065 ครั้ง

Engine by shopup.com