โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในหอม กระเทียม

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในหอม กระเทียม

        หอมและกระเทียมเป็นผักที่จัดอยู่ในประเภทพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของคนไทย เป็นสมุนไพรมีคุณค่าทั้งทางอาหารและทางยาสูงจึงยิ่งทำให้มีผู้นิยมบริโภคมาก แม้จะมีการปลูกกันเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่พอต่อความต้องการ ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญหลายชนิดโดยปลอดภัยทำได้อย่างไร ตามมาดูกันคะ

 

โรคแอนแทรคโนส (Antracnose Disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Colletotrichum gloeosporiodes

ลักษณะอาการ : ระยะแรกเกิดแผลจุดฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นขนาดเล็ก ก่อนขยายเป็นรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบต่ำกว่าเดิม มีหยดของเหลวข้นสีส้มอ่อนอมชมพู เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นตุ่ม แข็งสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงช้อนกันเป็นชั้นบนแผล ถ้าโรคเกิดรุนแรงแผลจะขยายมาชนกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบหักพับลงและแห้งตายหรือเน่าตายทั้งต้น

 

โรคหอมเลื้อย (Onion Twister Disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Colletotrichum gloeosporiodes

ลักษณะอาการ : แคระแกร็น ไม่ลงหัว หัวลีบยาวบิดโค้งงอ ใบบิดเป็นเกลียว คอยืดยาว ระบบรากสั้น รากขาดง่ายทำให้เกิดการเน่าก่อนเก็บเกี่ยว มักพบแผลลักษณะเช่นเดียวกับจุดแผลโรคแอนแทรคโนสบนใบ โคนกาบใบ คอใบหรือส่วนหัว สามรถแพร่ระบาดได้ง่ายในแปลงที่มีความชื้นสูงและมีการปลูกพืชซ้ำเดิมทุกปีโดยไม่ดูแลความสะอาดของแปลง

 

โรคใบจุดสีม่วง (Purple Blotch Disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Alternaria porri

ลักษณะอาการ : อาการเริ่มแรกเกิดแผลจุดฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นขนาดเล็ก รูปกลมหรือรี เมื่อแห้งเห็นเป็นแผลจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาขอบแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลอมม่วง แผลขยายเป็นรูปหรือไปตามความยาวของใบและอาจขยายลุกลามติดต่อกันเป็นแผลใหญ่เมื่ออาการรุนแรง เชื้อราสร้างสปอร์ขยายพันธุ์สีดำเป็นผงละเอียดอยู่บนแผลรอบนอก แผลเป็นสีขาวซีดหรือเหลือง ใบหักพับลงและแห้งตาย บางครั้งแผลจุดสีขาวไม่พัฒนาต่อแต่เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนมองเห็นเป็นอาการใบลาย โรคระบาดได้ดีช่วงอากาศเย็นมีหมอกน้ำค้างลงจัด

 

โรคใบไหม้ (Stemphylium Leaf Blight Disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Stemphylium vesicarium

ลักษณะอาการ : อาการเริ่มจากเกิดจุดแผลฉ่ำน้ำขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนบนใบก่อนขยายเป็นแผลรูปรีหัวท้ายแหลมสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมม่วง ในสภาพ ที่มีความชื้นสูงใบพืชเปียกเป็นเวลานาน แผลจะขยายใหญ่ลุกลามเกิดอาการใบไหม้ตั้งแต่ปลายใบลงมาถึงแผลหรือไหม้ทั้งใบและแผลมีสีเข้มขึ้นเป็นสีดำในที่สุด ในบางครั้งพบโรคเกิดร่วมกับโรคใบจุดสีม่วงในแผลเดียวกัน

 

โรคหัวและรากเน่า (Sclerotium Rot Disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Sclerotium rolsii

ลักษณะอาการ : อาการเหลืองแห้งแล้วลุกลามจนแห้งตาย เมื่อถอนต้นดูพบว่าหลุดจากดินได้ง่ายเพราะรากและหัวเน่าเสียหาย เห็นเส้นใยสีขาวหยาบของเชื้อราเจริญอยู่บริเวณโคนต้นและพบเม็ดสเคอโรเตียลักษณะคล้ายเมล็ดผักกาดมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่เกิดแทรกปะปนอยู่กับเส้นใย สามารถระบาดและทำความเสียหายมากในแปลงที่มีต้นปลูกแน่นเกินไป การระบายน้ำไม่ดี

 

การป้องกันกำจัด :

  1. ก่อนปลูกพืชควรไถพรวนตากดิน 2-3 ครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อรา

ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่างที่ 6.5-7.0 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่

            3.1 pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่

            3.2 ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่

            3.3 ช่วง pH 5.5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่

  1. การปลูกในฤดูฝนควรยกร่องสูงเตรียมดินให้มีการระบายน้ำดีและไม่ควรบำรุงต้นด้วยปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
  2. เพื่อปรับปรุงสภาพของดินก่อนปลูกและลดปริมาณเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดิน ใช้ไตร-แท็บ 1 กิโลกรัมผสม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม ใช้ฮิวมิค พลัส อัตรา 3  กก.ต่อไร่
  3. ฉีดพ่นด้วย ไตร-แท๊บ (เชื้อราไตรโครเดอร์มา) สลับกับ เจนแบค (เชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทิลิส) อัตรา 100 กรัม ร่วมกับเบนดิกซ์ อัตรา 3 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันโรค แต่ในกรณีโรคระบาดสามารถฉีดพ่น ไตร-แท๊บ ร่วมกับ เจนแบค ตามอัตราแนะนำ ทุก 3-5 วัน
  4. ควรเก็บต้นที่แสดงอาการห่างจากแปลงและทำลายทิ้ง

หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera exigua Hubner

                หนอนกระทู้หอมเป็นหนอนที่มีลักษณะลำตัวอ้วน หนังลำตัวเรียบตามปกติแล้วมีหลายสี ตั้งแต่เขียวอ่อน เทา หรือน้ำตาล สังเกตดูด้านข้างจะมีแถบสีขาวข้างละแถบ พาดตามยาวของลำตัว หนอนกระทู้หอมจะเข้าทำลายโดยกัดกินใบยอด กาบใบ นอกจากนั้นยังมีพืชอาหารที่สำคัญกว่า 20 ชนิด

การป้องกันกำจัด :

ต้องเข้าใจอุปนิสัยของหนอนกระทู้หอมให้ดีพอ คือหนอนนี้จะออกมากัดกินใบหอมในเวลากลางคืนจนถึงเช้า ส่วนตอนกลางวันหนอนจะหลบแดดอยู่ใต้วัสดุคลุมดิน ตังนั้นการใช้ชีวภัณฑ์ หรือสารกำจัดแมลงซึ่งจะออกฤทธิ์ถูกตัวตาย ควรจะพ่นในช่วงเวลาเย็นหรืออุณหภูมิสูงไม่เกิน 28-30C จะได้ผลดีมาก

  1. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชช้ำและพืชอาหารที่หนอนชอบ จะป้องกันการระบาดได้ดี
  2. ในระยะหนอนขนาดเล็กและมีการระบาดน้อย พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ นิวคลีโอโพลีฮีโดรไวรัส (เอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม) อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 3-5 วัน
  3. เมื่อพบการระบาด ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำของหน่วยราชการ เพื่อทำลายไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย

 

 

แมลงศัตรูที่สำคัญของหอมและกระเทียม

เพลี้ยไฟ (onion thrips )

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thrips tabaci Lindeman

                เป็นแมลงศัตรูหอมที่มีขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ตัวแก่มีปีก เป็นแมลงที่นับว่าจะมีความสำคัญมากขึ้น แผลที่เกิดจากการทำลายของเพลี้ยไฟมักจะเป็นช่องทางให้เกิดโรคราสีม่วงเข้าทำลายได้ เพลี้ยไฟมักจะระบาดช่วงอากาศร้อน

 

ไรขาวหรือไรหอมกระเทียม

เป็นแมลงขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบพืช ทั้งอ่อนและแก่ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้ใบและยอดอ่อนของกระเทียม มีอาการ หงิก งอ ม้วนตัวแน่น จะระบาดรวดเร็วมากในไม่ช้า ใบก็จะเริ่มมีลายสีเขียวอ่อนและขาว จนในที่สุดเป็นสีเหลืองฟางข้าว และใบแห้งเหี่ยวคล้ายใบไหม้

 

การป้องกันกำจัด :

  1. หมั่นสำรวจแปลงบ่อย ๆ
  2. ควรฉีดพ่นเชื้อราเมธาไรเซียมสลับกับ บิว-เวอร์ (เชื้อราบูเวเรีย) อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3-5 วัน ในกรณีที่เริ่มพบการระบาดควรฉีดพ่นทุก 3 วัน ผสมร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มการแพร่กระจายบนใบพืชได้ดี
  3. ควรเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ อย่าให้พืชขาดน้ำเพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ และแมลงศัตรูจะระบาดอย่างรวดเร็ว
  4. เมื่อพบการระบาด ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำของหน่วยราชการ เพื่อทำลายไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย

 

 

เรียบเรียงโดย

อธิษฐาน ชมเพ็ญ

 

อ้างอิง

http://www.ptcn.ac.th

https://www.kaset1009.com/th

https://www.ipmimages.org

https://www.healthbenefitstimes.com

https://www2.ipm.ucanr.edu/

https://www.allotment-garden.org/

https://www.rhs.org.uk/

https://apps.lucidcentral.org

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดยะลา https://u.osu.edu

 

================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
================================================
 
#TRITAB #JENBAC #BACITUS #BEAUVER #BIOCONTROL #Safe #ResidueFree #TAB #Tabinnovation #oraganicfarming

23 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 892 ครั้ง

Engine by shopup.com