การใช้ชีวภัณฑ์ผสมร่วมกันเพื่อควบคุมโรคและแมลง
การใช้ชีวภัณฑ์ผสมร่วมกันเพื่อควบคุมโรคและแมลง
การใช้ชีวภัณฑ์ผสมร่วมกันเพื่อควบคุมโรคและแมลง
จากประเด็นการนำชีวภัณฑ์ไปใช้ในสภาพแปลง สามารถผสมร่วมกันได้หรือไม่ นั่นคือการผสมรวมในถังเดียวกัน (Tank mix) โดยที่ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์แต่ละชนิดต้องไม่ลดลง และเป็นชีวภัณฑ์สายพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบเท่านั้น ทดสอบในห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองด้วยวิธีการปลูกเชื้อโรค และเลี้ยงแมลงเพื่อทดสอบตรวจเช็คเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค และการตายของแมลง หลังการทดลองตรวจสอบปริมาณเชื้อโรคและชีวภัณฑ์หลังการทดสอบ
ทดสอบกับชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืช คือ
ชีวภัณฑ์ที่ใช้ทดสอบของบริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น ในกลุ่มชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพืชทั้งหมด สามารถใช้ร่วมกันได้ทุกชนิด โดยที่ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเทียบเท่ากับการใช้ชีวภัณฑ์เพียงชนิดเดียว และบางโรคเมื่อใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกัน ทำให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ดีกว่าการใช้เพียงชนิดเดียว ส่วนในกลุ่มชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงไม่สามารถใช้ร่วมกับชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพืช และ ชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงด้วยกันได้ ซึ่งวัดผลจากเปอร์เซ็นต์การตายของแมลงที่เกิดจากชีวภัณฑ์เป็นหลัก
ตารางแสดง ผลการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืชร่วมกันในการควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
ตารางแสดง การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืชร่วมกับชีวภัณฑ์กำจัดแมลง
ผลการตรวจปริมาณเชื้อในดินหลังการทดสอบควบคุมโรคกล้าเน่ายุบมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อ Pythium sp
ภาพที่ 1 แสดงปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา (TT) เชื้อแบคทีเรีย (JB) ใช้ไตรโคเดอร์มาก่อน ใช้แบคทีเรียทีหลัง (TT+JB)ใช้แบคทีเรียก่อนใช้ไตโคเดอร์มาที่หลัง(JB+TT) ใช้ไตรโคเดอร์มาพร้อมแบคทีเรีย(TT+JB) สารเคมีเปรียบเทียบ (CHEM)เปรียบกับกรรมวิธีควบคุมใส่เชื้อ(C+Py) และกรรมวิธีควบคุมไม่ใส่เชื้อโรค(C-Py) บนอาหารจำเพาะที่ใช้ตรวจปริมาณเชื้อ ราไตรโคเดอร์มา
ภาพที่ 2 แสดงปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา (TT) เชื้อแบคทีเรีย (JB) ใช้ไตรโคเดอร์มาก่อน ใช้แบคทีเรียทีหลัง (TT+JB)ใช้แบคทีเรียก่อนใช้ไตโคเดอร์มาที่หลัง(JB+TT) ใช้ไตรโคเดอร์มาพร้อมแบคทีเรีย(TT+JB) สารเคมีเปรียบเทียบ (CHEM)เปรียบกับกรรมวิธีควบคุมใส่เชื้อ(C+Py) และกรรมวิธีควบคุมไม่ใส่เชื้อโรค(C-Py) บนอาหารจำเพาะที่ใช้ตรวจปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส
ภาพที่ 3 แสดงปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา (TT) เชื้อแบคทีเรีย (BT) เชื้อแบคทีเรีย (JB) เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมแบคทีเรีย(TT+BT) เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมแบคทีเรีย (TT+JB) บนอาหารจำเพาะที่ใช้ตรวจปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ภาพที่ 4 เชื้อแบคทีเรีย (JB) เชื้อแบคทีเรีย (BT) เชื้อแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต (TAB-2) เชื้อแบคทีเรียผสมแบคทีเรีย(BT+JB) ) เชื้อแบคทีเรียผสมแบคทีเรียร่วมกับแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต (BT+JB+TAB-2) ) เปรียบกับกรรมวิธีควบคุมใส่เชื้อโรค (C+RS) และกรรมวิธีควบคุมไม่ใส่เชื้อโรค(C-RS) บนอาหารจำเพาะที่ใช้ตรวจปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส
ผลการตรวจปริมาณเชื้อบนผลพริกหลังพ่นชีวภัณฑ์ 24 ชั่วโมง จากการทดสอบควบคุมโรคแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici พริก
ภาพที่ 5 แสดงปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มา (TT) เชื้อแบคทีเรีย (JB)เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมแบคทีเรีย (TT+BT) บนอาหารจำเพาะที่ใช้ตรวจปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส และเชื้อราไตรโคเดอร์มา
===============================================
#ผสมกัน #ไตรแท๊บ #ไตรโคเดอร์มา #เจนแบค #บาซิทัช #บาซิลัสซับทีลิส #บิวเวอร์ #บิวเวอร์เรีย #บูเวเรีย #ชีวภัณฑ์ #ปลอดภัยไร้สารตกค้าง #ทีเอบี #ทีเอบีอินโนเวชั่น #เกษตรอินทรีย์ #tankmix #TRITAB #JENBAC #BACITUS #BEAUVER #BIOCONTROL #Safe #ResidueFree #TAB #Tabinnovation #oraganicfarming
30 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 2564 ครั้ง