โรคกิ่งแห้งในทุเรียน

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

โรคกิ่งแห้งในทุเรียน

        นอกจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) ที่เป็นสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า และโรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) ถือว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับต้นทุเรียนทุกระยะการเจริญเติบโต

 

เชื้อราฟิวซาเรียม  (Fusarium sp.)

 

        เป็นราอาศัยในดิน พบได้ทั่วไปทุกแห่ง สามารถแยกจากพืชที่เป็นโรค เส้นใยในตอนแรกมีสีขาว มีการสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 25 - 30°C  พบว่าโดยส่วนใหญ่เจริญได้ดีในที่มืด 24 ชั่วโมง ส่วน pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง  6.0 – 7.0

        เชื้อสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด พักอาศัยในดินได้นานหลายปี  โดยเชื้อเข้าสู่ต้นพืชได้หลายทาง เช่น ราก ใบ ปลายยอด ผล เมื่อสปอร์เข้าต้นพืชสามารถเจริญเข้าในท่อน้ำพืช ดังนั้นถ้ากำจัดเชื้อโรคจึงทำได้ยาก  การป้องกันโรคจึงเป็นวิธีที่ดีทีสุด

 

ลักษณะอาการโรค

               เชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ที่พบชัดเจนคืออาการที่เกิดปลายกิ่งทุเรียนจะมีสีแดงอมม่วงกิ่งจะเริ่มแห้งเนื้อเยื่อลีบเห็นเป็นสีน้ำตาล ถ้าสภาพอากาศชื้นจะพบเชื้อราเจริญฟูสีขาวถึงชมพู  ต้นที่เกิดอาการรุนแรงใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และหลุดร่วงกิ่งแห้ง

 

การป้องกันโรคกิ่งแห้งในทุเรียน

โดยการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผ่านการการวิจัยและทดสอบแล้วอย่าง ไตร- แท๊บ และ เจน-แบค ที่สามารถควบคุมเชื้อราฟิวซาเรียม ได้ด้วยวิธี

1. การแย่งอาหารและธาตุอาหารที่สำคัญในการเจริญเติบโต และกินเชื้อสาเหตุโรคพืช

  

 

2. การสร้างสารปฎิชีวนะยับยั้งเส้นใยและการสร้างส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อโรคพืช

 

 

3. การครอบครองพื้นที่ก่อนเชื้อโรคพืชเข้าทำลาย

 

 

การป้องกันกำจัดโรคกิ่งแห้งในทุเรียน

  1. เนื่องจากเชื้ออาศัยในดินการปรับสภาพดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรคให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 ด้วย จัสเตอร์ (สารปรับปรุงสภาพดินชนิดน้ำ) ใช้ฉีดพ่นลงดินหรือ ปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่ 
    • pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร
    • ช่วง pH 4.5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่
    • ช่วง pH 5.5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่
  1. เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน ใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 15-30 วัน
  2. เพื่อลดธาตุอาหารที่เชื้อโรคใช้ในการเจริญเติบโตและครอบครองพื้นที่ก่อนเชื้อเข้า  ใช้ เจน-แบค พ่นลง   
  3. ดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและทรงพุ่ม ก่อนการระบาด อัตรา  50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  4. พ่นทุก 10-15 วัน ช่วงระบาดใช้อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน สามารถใช้พ่นร่วมกับ ไตร-แท็บ หรือสารกำจัดแมลง ปุ๋ย หรือ อาหารเสริมได้

 ชีวภัณฑ์ไตรแท๊บ

 

รวบรวมข้อมูลจาก

รัติยา พงศ์พิสุธา, ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล, สัณฐิติ ปินคาเตอร์, กนกพร ฉัตรไชยศิริและพัชรี บุญเรืองรอด.

  1. การตรวจสอบเชื้อสาเหตุของโรคกิ่งแห้งของทุเรียน.แก่นเกษตร 48 ฉบับ 4 : 703-714(2563)

https://twitter.com/xmsunxhp/status/1447599579608674304

 

 

30 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 17629 ครั้ง

Engine by shopup.com