การควบคุมโรคในข้าวด้วย ไตร-แท๊บ (ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลั่ม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009
การควบคุมโรคในข้าวด้วย ไตร-แท๊บ (ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลั่ม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009
การควบคุมโรคในข้าวด้วย ไตร-แท๊บ (ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลั่ม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009
ไตร-แท๊บ คือเชื้อราไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม สายพันธุ์ เอ็นเอสที-009 เป็นชีวภัณฑ์ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด สำหรับในข้าวสามารถใช้ป้องกันโรคดังนี้
โรคไหม้ (Rice Blast Disease)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.
ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและพันธุ์ข้าว ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 15-20 มิลลิเมตร แผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)
ระยะแตกกอ ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะคอรวง จะทำให้คอรวงเสียหายเมล็ดลีบหมด แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease)
สาเหตุ: เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.)
ลักษณะอาการ พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มม. แผลที่มีการ พัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มม. บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือ รูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพการแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด
โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot Disease)
สาเหตุ: เชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake
ลักษณะอาการ
ลักษณะแผลที่ใบมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบข้าว มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้าง ตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้
โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight Disease)
สาเหตุ: เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
ลักษณะอาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา
โรคถอดฝักดาบ
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg
ลักษณะอาการ พบมากในระยะกล้า หรือระยะแตกกอข้าวเป็นโรคต้นจะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่วๆ ไป ต้นข้าวผอมจะมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้องแต่รากจะเน่าช้ำ เวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้ 15 –45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าต้นปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดรากแขนงที่ข้อลำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นมักจะตาย และมีน้อยมากที่จะอยู่รอดจนถึงออกรวง
โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)
สาเหตุ: เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed. Cercospora oryzae I.Miyake. Helminthosporium oryzae Breda de Haan. Fusarium semitectum Berk&Rav. Trichoconispad wickii Ganguly. Sarocladium oryzae Sawada.
ลักษณะอาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด
การใช้ไตร-แท๊บ ป้องกันกำจัดโรคในข้าว
1. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
2. ก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว 12-24 ชั่วโมง ราดหรือแช่ไตร- แท๊บ อัตรา 7 ช้อนโต๊ะ (1 ขีด) ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ใช้ไตร-แท๊บ พ่น อัตราครึ่งกิโลกรัม-1 กิโลกรัม ต่อไร่ อย่างน้อยจำนวน 3 ครั้ง เมื่อข้าวอายุประมาณ 30 วัน 60 วัน และระยะข้าวเริ่มเป็นน้ำนมอายุประมาณ 70-80 วัน
Reference:
- เอกสารส่งเสริมเผยแพร่ "โรคข้าว และการป้องกันกําจัด" จัดทําโดย: สํานักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- http://www.brrd.in.th/rkb2/enemy_khao/index.php.htm
- http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/rice/
- http://www.thairath.co.th/content/360232 http://www.thairath.co.th/content/360232
30 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 932 ครั้ง