โรคกรีนนิ่งในส้ม Citrus greening disease
โรคกรีนนิ่งในส้ม Citrus greening disease
โรคกรีนนิ่งในส้ม Citrus greening disease
ส้มเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ทำให้ได้รับความนิยมในการบริโภคจากผู้คนจำนวนมาก มีทั้งขายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ แต่เนื่องด้วยเกษตรกรที่ปลูกส้มมักพบกับปัญหาการเกิดโรคกรีนนิ่ง ซึ่งเป็นโรคที่สร้างปัญหาอย่างมากในส้ม ทำให้ผลผลิตลดลง ไม่มีรสชาติ รูปทรงส้มมีลักษณะบิดเบี้ยวไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาหรือสารเคมีกลุ่มไหนที่สามารถรักษาโรคกรีนนิ่ง ในส้มได้ ดังนั้นเรามาหาวิธีป้องกันการเกิดโรคกรีนนิ่งให้ช้าที่สุดกันนะคะ
กรีนนิ่งเป็นโรคที่สำคัญในพืชตระกูลส้มโดยเฉพาะในกลุ่มส้มเปลือกล่อน (mandarin) กลุ่มส้มติดเปลือก (sweet orange) รวมทั้งส้มโอ (pomelo) (Citrus maxima) และกลุ่มมะนาว (small acid lime)(Citrus aurantifolia) โรคนี้จัดเป็นโรคระบาดรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายให้กับต้นส้มตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Candidatus Liberobacter asiaticus
ลักษณะอาการ : โรคกรีนนิ่งสามารถเข้าทำลายต้นส้มได้ทุกระยะ ซึ่งโรคกรีนนิ่งนั้นสามารถแพร่ระบาดโดยเชื้อแบคทีเรียไปกับกิ่งพันธุ์และถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยไก่แจ้เป็นพาหะนำโรค อายุส้มระหว่าง 1 - 5 ปี จะติดโรคง่ายและแสดงอาการชัดเจน แต่เมื่อต้นส้มอายุเกิน 10 ปี ขึ้นไปการเข้าทำลายของเชื้อจะช้าลงและอาการของโรคจะไม่รุนแรง โดยใบเหลืองจะมีขนาดเล็กและชี้ตั้งตรง คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี แมงกานีสและแมกนีเซียมบางครั้งพบว่าใบจะมีจุดสีเหลืองเป็นแต้มๆ หรือจ้ำ กระจายไปทั่วบนใบ
ส่วนมากจะพบกับใบอ่อน ส้มที่เป็นโรคนี้ขนาดของใบจะเล็กลงหนากว่าปกติ และปลายใบตั้งชี้ขึ้น ถ้าหากเป็นโรครุนแรงใบแก่จะโค้งงอผิดปกติ กิ่งและข้อสั้นกว่าปกติ แตกกิ่งมาก ขนาดผลเล็กเมล็ดลีบ ผลมักร่วงก่อนแก่ และจะพบกิ่งแห้งตายจากส่วนปลายยอดแล้วลุกลามไปทั่วต้น
การแพร่ระบาด
สามารถแพร่ระบาดได้ 3 ทาง คือ
- โดยกิ่งพันธุ์หรือกิ่งตอน ถ้าขยายพันธุ์หรือตอนกิ่งจากต้นที่เป็นโรค เชื้อโรคกรีนนิ่ง สามารถติดไปกับกิ่งพันธุ์ได้ และแพร่กระจายเชื้อโรคได้ไกลทั่วทุกแหล่งที่นำไปปลูก
- โดยการติดตาทาบกิ่ง ถ้านำตาจากต้นส้มเป็นโรคไปติดตาบนต้นกล้าส้ม หรือขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่งหรือเสียบยอดก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้ย่อมมีโอกาสติดโรค
- โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Citrus psylid, Daphorina citri Kuway)
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Citrus psylid, Daphorina citri Kuway)
ตัวเต็มวัยมีสีเทาหรือน้ำตาลเหลือง ปีกบางใสและมีจุดลายสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร ตัวเมียจะวางไข่เดี่ยว ๆ ลักษณะกลมรีสีส้ม ประมาณ 400-1,500 ฟอง ตามมุมใบยอดอ่อน ช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ส่วนตัวตัวเต็มวัยพบตลอดปี จากรายงานพบว่าเพลี้ยไก่แจ้ส้มจะใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที ในการดูดกินบนใบต้นส้มเป็นโรค และเชื้อโรคกรีนนิ่งสามารถเจริญและขยายพันธุ์ในตัวแมลงได้ตรงส่วนบริเวณต่อมน้ำลาย (salivary glands) และลำไส้ (guts) และใช้เวลาฟักตัวในแมลงประมาณ 1 วันขึ้นไป จากนั้นก็สามารถถ่ายทอดโรคไปยังต้นส้มอื่น ๆ ที่เกาะดูดกินน้ำเลี้ยง ตลอดอายุขัยของแมลง (อายุ 6 เดือน) และจะใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาทีเช่นกันในการถ่ายทอดโรค
แนวทางในการป้องกันโรคกรีนนิ่ง ต้องเสริมความแข็งแรงให้ต้นส้มโดยเริ่มจากปรับสภาพดินให้เหมาะต่อการเจริญโตและต้องเสริมด้วยธาตุอาหารและสารกระตุ้นทางใบ จะทำให้ลดความรุนแรงของโรคและการเข้าทำลายของโรคช้าลง
- หมั่นสำรวจแปลงเป็นประจำ เพื่อดูแมลงศัตรูพืช และลักษณะอาการต่างๆของส้ม
- ควรมีการส่งวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจธาตุอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อใช้บำรุงต้นส้มอย่างเหมาะสม และค่าความเป็น กรด – ด่างในดิน (pH) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 1-2 ปี ต่อครั้ง
- ปรับค่าความเป็น กรด – ด่าง ด้วย จัสเตอร์ อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ของดินแต่ละพื้นที่โดยปริมาณน้ำ 80-100 ลิตร/ไร่
- pH น้อยกว่า 4.5 ควรใช้ 15 ลิตร/ไร่
- ช่วง pH 5-5.5 ควรใช้ 10 ลิตร/ไร่
- ช่วง pH 5-6.5 (หรือในกรณีไม่ทราบค่า pH ของดิน) ควรใช้ 5 ลิตร/ไร่
4. บำรุงธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นส้มด้วย ยูมิกซ์ อัตราการใช้ 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 14 วัน และ โปรมิกซ์ อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7 วัน หรือตามความเหมาะสมของสภาพต้นส้ม
- ป้องกันการเกิดโรคและละลายฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปที่ต้นส้มนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยโดยใช้ ไตร - แท๊บ อัตราการใช้ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงดินและทางใบ ทุก ๆ 7 วัน ฉีดพ่นช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
- ป้องการการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ด้วย บิวเวอร์ และ เบนดิกซ์ อัตราการใช้บิวเวอร์ 100 กรัม ร่วมกับ เบนดิกซ์ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
- หากสภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูงจนเกินไปทำให้ใบส้มไหม้ (sunburn) สามารถใช้ ทีเอบี ซิงค์ เพื่อป้องกันการไหม้ของใบส้มได้ โดยใช้อัตราการใช้ 5 – 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ต้นส้มจะมีการเจริญเติบโตที่ดี หากได้รับธาตุอาหารครบถ้วน ซึ่งนอกจากธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารอง แล้วยังต้องมีธาตุอาหารเสริมบำรุงต้นด้วย ได้แก่
- ซีวีด (สารสกัดสาหร่าย) อัตราการใช้ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
- ไบโอไลฟ์ เอ็ม 40 (กรดอะมิโน) อัตราการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
- ฮิวมิค พลัส (กรดฮิวมิค และกรดฟลูวิก) อัตราการใช้ 1 – 1.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร ใส่ผสมไปกับปุ๋ยในระบบการให้ปุ๋ยของต้นส้ม
เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา
เอกสารอ้างอิง
Hall, D.G., et al., Asian citrus psyllid, Diaphorina citri, vector of citrus Huanglongbing disease. Entomologia Experimentalis et Applicata, 2013. 146(2): p. 207-223.
Grafton-Cardwell, E.E., L.L. Stelinski, and P.A. Stansly, Biology and management of Asian citrus psyllid, vector of the Huanglongbing pathogens. Annu Rev Entomol, 2013. 58: p. 413-32
Rogers, M., P.A. Stansly, and L. Stelinski, Florida citrus pest management guide: Asian citrus psyllid and citrus leafminer. Entomol. Nematol. Dept., Fla. Coop. Ext. Serv., Inst. Food Agri. Sci., Univer. Fla., ENY-734, 2012.
Stansly, P.A., J.A. Qureshi, and B.C. Kostyk, Evaluation of three application rates of fenpyroximate and tolfenpyrad against Asian citrus psyllid and citrus leafminer in oranges: fall, 2012. Anthrop Manag Tests, 2013. 38.
30 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 4632 ครั้ง