การจัดการโรคในสตรอว์เบอร์รีด้วยชีวภัณฑ์

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

การจัดการโรคในสตรอว์เบอร์รีด้วยชีวภัณฑ์

          สตรอว์เบอร์รี เป็นไม้ผลเขตกึ่งร้อนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี สตรอว์เบอร์รีอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ ไม่มีคอเรสเตอรอล และมีไฟเบอร์ อีกทั้งยังยับยั้งป้องกันโรค ช่วยบำรุงรักษาระบบต่างๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ในอดีตสตรอว์เบอร์รีถูกนำมาส่งเสริมให้กับชาวเขาปลูก   เพื่อเป็นพืชทดแทนการปลูกฝิ่น และแก้ปัญหาการทำไร่เลื่อนลอยบนพื้นที่สูง แต่ในปัจจุบันสตรอว์เบอร์รีกลายเป็นพืชที่ปลูกเพื่อการค้า ผลผลิตประมาณร้อยละ 80 ถูกแปรรูปเพื่อจำหน่ายในตลาดในและนอกประเทศ ส่วนอีกประมาณร้อยละ 20 เป็นการผลิตเพื่อตลาดบริโภคสด การใช้สารเคมีอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการตกค้างในผลผลิต และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภครวมถึงเกษตรผู้ปลูก จึงได้มีการนำชีวภัณฑ์เข้ามาจัดการโรคของสตรอว์เบอร์รีอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

 

โรคสตรอว์เบอร์รีที่สำคัญ : ที่เกิดกับระบบราก

 

โรครากเน่าโคนเน่า


สาเหตุโรค เชื้อรา Phytophthora fragariae Hickman

ระยะการเข้าทำลายพืช : ตั้งแต่ระกล้า จนถึงออกผลผลิต

ลักษณะอาการ : จะพบการตายของราก โดยเริ่มจากปลายรากลุกลามต่อไปที่รากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามไปถึงโคนต้น ถ้าอาการไม่รุนแรงต้นอาจเพียงแคระแกรน แต่ถ้าแสดงอาการรุนแรงพืชจะตายภายใน 2-3 วัน

การแพร่ระบาด : โดยลมพายุ น้ำท่วมหรือติดไปกับดินปลูก และไหลที่เป็นโรค

การป้องกันกำจัด

  1. ปรับปรุงดินให้ร่วนชุ่ยและระบายน้ำดี อบดินก่อนทำการปลูกด้วยการดินตากแดดจัดๆ 2-4 สัปดาห์ ก่อนปลูก
  2. ใช้ ไตร-แท็บ อัตรา 1 กิโลกรัมผสมวัสดุเพาะกล้า 100-500 กิโลกรัม หรือใช้ ไตร-แท็บ อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 10-20 กรัม/หลุม
  3. ใช้ ไตร-แท็บ ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยกับระบบน้ำ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-15 วัน

 

โรคสตรอเบอรี่ที่สำคัญ : ที่เกิดบนใบและผล

โรคใบจุด (Leaf spot)

สาเหตุโรค : เกิดได้จากเชื้อราชั้นสูงหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่

  1. เชื้อรา Ramularia tulasnei หรือโรคใบจุดตานก
  2. เชื้อรา Pestalotia sp. หรือโรคใบจุด Pestalotia
  3. เชื้อรา Verticillium sp. หรือโรคใบจุดใบไหม้

ระยะการเข้าทำลายพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ลักษณะอาการ : ใบจุดตานก พบบนใบ แต่อาจพบบนก้านใบ ผล ไหล รวมทั้งฐานรองดอกเริ่มจากจุดขนาดเล็กสีม่วงเข้ม รูปร่างกลม แผลขยายออกกลางแผลสีน้ำตาลและเปลี่ยนเป็นสีเทา ขอบแผลสีม่วงแดง หากรุนแรงแผลรวมกันทำให้เกิดใบไหม้ใบจุด Pestalotia พบบนใบ ปรากฎจุดสีดำขนาดเล็ก และเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม แผลจะขยายใหญ่ขึ้น ตรงกลางแผลจะพบกลุ่มสปอร์สีดำ และใบจุดใบไหม้ Verticillium พบบนใบ ปรากฎจุดสีน้ำตาลแดง และลุกลามทั่ว

 

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

สาเหตุโรค : เชื้อรา Colletotrichum sp.

ระยะการเข้าทำลายพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ลักษณะอาการ : เกิดได้ทุกส่วนของพืชทั้งบนใบ ก้านใบ ไหล โคนต้น ราก และผล แผลเป็นจุดขนาดเล็ก และขยายใหญ่เป็นสีดำคล้ำ แผลลึกขอบแผลสีดำ ตรงกลางแผลสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา เชื้อเข้าทำลายต้นทำให้พืชเหี่ยว เมื่อผ่าดูจะพบอาการสีน้ำตาลแดงหรือดำบนลำต้น (crown) ถ้าเชื้อสาเหตุเข้าทำลายที่ผลจะทำให้เกิดผลเน่า จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล แผลกลม เนื้อผลยุบลง เป็นรอยแผลเน่าเละเละกลายเป็นสีดำภายใน 2-3 วัน สำหรับรอยแผลนี้ปรากฎทั่วไปในผลที่สุกและอาจมีสองแห่งหรือมากกว่า โดยมีส่วนที่เป็นสปอร์ปกคลุมอยู่ ถ้าหากโรคนี้เข้าทำลายที่ลำต้นจะทำให้เกิดอาการเหี่ยวของต้นทันที และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแผลสีดำบริเวณก้านดอก ไหล ก้านใบ และใบ เชื้อจะผลิตสปอร์ขึ้นมาปกคลุมเป็นจำนวนมาก

การแพร่ระบาด : สปอร์สามารถแพร่กระจายไปได้โดยฝนหรือแมลง

 

รคราแป้ง (Powdery mildew)

สาเหตุโรค : เชื้อรา Oidium mangiferae Berth

ระยะการเข้าทำลายพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ลักษณะอาการ : เกิดได้ทั้งบนใบ ก้านใบ ไหล และผล โดยพบผงสีขาวคล้ายแป้งกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ เชื้อโรคจะเข้าทำลายช่อดอก ผลอ่อน และใบ ในช่อดอกจะทำให้ช่อดอกแห้ง และร่วงไม่ติดผล เชื้อราจะสร้างเส้นใย และสปอร์ มีลักษณะเป็นผงสีขาวคลุมกานช่อดอกที่ดอกร่วงไปแล้ว กรณีที่ติดผลแล้ว เชื้อราจะลุกลามจากก้านช่อเข้าสู่ผล ทำให้ผลอ่อนชะงักการเจริญเติบโต และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีราขาวคลุม ในใบอ่อน ด้านใต้ใบจะมีเชื้อราจับหนาแน่นและคลุมทั่วทั้งใบ และยอดอ่อน ราแป้งทำให้ใบบิดงอใบเปลี่ยนเป็นปื้นสีน้ำตาลคล้ายอาการใบไหม้ หากระบาดรุนแรงเชื้อราจะคลุมทั้งยอดทำให้ยอดมีสีขาวโพลน ม้วนขึ้น มีแผลสีม่วง และยอดจะแห้งตายเมื่อพบสภาพขาดน้ำและอากาศร้อน

การแพร่ระบาด : เชื้อราจะแพร่ระบาดทางลม โดยเฉพาะในสภาพอากาศแห้ง และเย็น

 

โรคผลเน่า (Fruit rot)

เชื้อสาเหตุ :

  1. เกิดจากเชื้อราชั้นสูง Botrytis cinerea หรือโรคราสีเทา (Botrytis gray mold rot) หรือ Cladosporium sp. หรือ Coletotrichum sp.
  2. เกิดจากเชื้อราชั้นต่ำ Phytophthora sp.

ระยะการเข้าทำลาย : ทุกระยะการเจริญ ปรากฎอาการบนผล

ลักษณะอาการ : ผลเน่าจากเชื้อรา Botrytis cinerea แผลสีน้ำตาลแห้งแข็งยุบตัวลงในผล มีเส้นใยสีเทาปกคลุมบริเวณแผล เมื่ออากาศขึ้นสูงปรากฎเส้นใยสีเทา ผลเน่าจากเชื้อรา Coletotrichum sp. แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อนในระยะเริ่มแรก ต่อมามีสีน้ำตาลคล้ำแผลลึกแน่นแข็ง และอาจจะมีเมือกสปอร์สีชมพูบริเวณแผลเมื่อมีความชื้นสูง แผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อน เนื้อผลเริ่มเน่าอย่างรวดเร็ว จะพบเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมผล และผลเน่าจากเชื้อรา Phytophthora sp.จะเกิดแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อน เนื้อผลเริ่มเน่าอย่างรวดเร็ว และจะพบเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมผลเช่นกัน

 

การป้องกันกำจัดโรคที่เกิดบนใบและผล

  1. ใช้ไหลจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค แช่ไหลก่อนปลูกด้วย ไตรแท็บ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  2. เตรียมดินให้ดี มีการระบายน้ำดี ดูแลต้นพืชให้มีความแข็งแรง
  3. กำจัดวัชพืชในแปลง หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคเก็บส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลง
  4. ช่วงติดผล ควรเพิ่มธาตุแคลเซียมเพื่อให้ผิวของผลแข็งแรง
  5. ฉีดพ่นด้วย เจน-แบค ให้ทั่วทรงพุ่มก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 10-15 วัน เมื่อพบการระบาดพ่นทุก 5-7 วัน

 

 

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Virus disease)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อไวรัส

ลักษณะอาการ : ใบยอดหงิกแข็ง สากหนา ใบมีขนาดเล็กลง ยอดไม่เจริญ ปริมาณไหลลดลง จนกระทั่งไม่มีไหลจากต้นแม่ และไม่มีผลผลิต โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหยิก ย่น ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น หรืออาการใบด่าง ต้นเตี้ยแคระแกรน ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่น ขนาดใบเล็กกว่าปกติ พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากแมลงปากดูด เช่นเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือดฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค

 

การป้องกันกำจัด

  1. โดยใช้ตันพันธุ์ที่ผ่านการรับรองว่าปลอดเชื้อไวรัส หรือเป็นพันธุ์ที่ต้านทาน บำรุงให้ต้นพืชแข็งแรง
  2. กำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค ควรฉีดพ่น บิว-เวอร์ อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับสารจับใบ เบนดิกซ์ อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนตัวแมลง เมื่อเริ่มพบแมลง พ่นทุก 7 วัน ในกรณีที่เกิดการระบาด ควรพ่นซ้ำทุก 3-5 วัน

 

 

เรียบเรียงโดย

อธิษฐาน ชมเพ็ญ

 

คงกฤช อินทแสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ.สตรอว์เบอร์รี (Strawberry). ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี 198 ม.9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จกาญจนบุรี 71240

การปลูกสตรอเบอรี่ พันธุ์พระราชทาน 80. งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไม้ผลขนาดเล็กมูลนิธิโครงการหลวง

https://www.nexles.com/articles/strawberry-powdery-mildew-sphaerotheca-macularis/

http://www.ca.uky.edu/

https://strawberryplants.org/

 
================================================
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
YouTube Channel: http://bit.ly/LGH_YouTube
================================================
 
#TRITAB #Trichoderma #JENBAC #BacillusSubtilis #BS #BEAUVER #beauveria #BIOCONTROL #Safe #ResidueFree #TAB #Tabinnovation #oraganicfarming

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 4574 ครั้ง

Engine by shopup.com