ธาตุอาหารที่จำเป็นในกัญชา กัญชง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

ธาตุอาหารที่จำเป็นในกัญชา กัญชง

          กัญชา กัญชง เป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ทางการแพทย์มากขึ้น ซึ่งในการปลูกดูแลให้ต้นมีการเจริญเติบโตที่ดีแข็งแรงทนต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ต้นกัญชา และกัญชงต้องได้รับธาตุอาหารต่าง ๆที่ครบถ้วน เรามาดูกันนะคะ ว่าต้นกัญชากัญชง ต้องการธาตุอะไรบ้าง และเมื่อได้ธาตุอาหารไม่ครบจะแสดงอาการอย่างไร และมีวิธีแก้ยังไง

ในช่วงการเพาะเมล็ด จนถึงระยะต้นกล้า หากต้นกล้ามีความแข็งแรงก็จะทำให้มีการเจริญเติบโตที่ดี

          การปลูกกัญชา กัญชงให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงควรเริ่มตั้งแต่ดินหรือวัสดุปลูกให้มีความเหมาะสม ค่าความเป็นกรด -ด่าง ที่เหมาะสมต่อการปลูกกัญชา กัญชง ควรอยู่ที่ 5.8 – 6.2 ซึ่งส่วนมากดินทั่วไปจะมีความเป็นกรด จึงควรมีการปรับปรุงสภาพดินก่อนปลูก โดยใช้ จัสเตอร์ เป็นสารปรับปรุงดินชนิดน้ำมีค่าเป็นด่าง ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับสภาพดินจากกรด ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการปลูก

 

ความต้องการธาตุอาหารในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต กัญชา กัญชง
ปลูกใหม่ ช่วงทำใบ

กัญชา กัญชง ต้องการ ไนโตรเจน (N)สูง ฟอสฟอรัส( P)ค่อนข้างต่ำ และโปรแตสเซียม ( K) ปานกลาง
ดังนั้นปุ๋ยใส่กัญชาช่วงทำใบ ควรใช้ปุ๋ยที่มีเรโช 3:1:2,5:1:4 เป็นต้น
ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยสูตร 21-7-14 หรือ 15-0-0+15-15-15 อัตราส่วน 1:1 จะได้เป็นสูตร 15-7.5-7.5+ แคลเซียม12.5%
ปุ๋ยอินทรีย์ ยกตัวอย่าง เช่น มูลไส้เดือน มูลวัว มูลหมู ปุ๋ยคอก

ช่วงสะสมอาหาร
ปุ๋ยช่วงสะสมอาหารกัญชา กัญชง ต้องการแร่ธาตุไนโตรเจน (N) ต่ำ ฟอสฟอรัส (P) สูง และธาตุโปรแตสเซียม (K)
สูง ควรใช้ปุ๋ยที่มีเรโช 1:2:2 ปุ๋ยเคมี ยกตัวอย่างเช่น 8-24-24 ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลไก่ มูลค้างคาว

ช่วงทำดอก
ปุ๋ยช่วงทำดอกกัญชาต้องการ ธาตุไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P)กลาง และโปรแตสเซียม( K) สูง
ควรใช้ปุ๋ยที่มีเรโช 1:2:3 ปุ๋ยเคมี ยกตัวอย่างเช่น 10-20-30 , 7-17-35, 7-13-34 เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลไก่ มูลค้างคาว

          ช่วงระยะการเจริญเติบโตไปจนถึงระยะออกดอกเป็นช่วงที่ต้นกัญชา กัญชง ต้องได้รับธาตุอาหารอย่างเหมาะสม
ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ไม่เช่นนั้นต้นจะแสดงอาการผิดปกติต่าง ๆ ออกมา

 

อาการขาดไนโตรเจนจะมีลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ลำต้นเป็นสีแดงเจริญเติบโตช้า มีลักษณะซีด ใบเหลืองอย่างรวดเร็วจากใบด้านล่างจนถึงยอด

การแก้ไข : เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ที่มีไนโตรเจน และคอยดูแลรักษา อาหารเสริมอื่นๆมีไนโตรเจนในระดับสูง และมักจะแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ให้อาหารทางใบที่มีสารอาหารที่อุดมด้วยไนโตรเจน เช่น สารสกัดจากสาหร่ายหรือปลา ใบกัญชาสามารถดูดซับสารอาหารจำนวนเล็กน้อยได้โดยตรงผ่านผิวใบ
ทีเอบี ซีวีด 45 : สารสกัดจากสาหร่าย อัตราใช้ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วันในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น

 

อาการขาดฟอสฟอรัสจะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ลำต้นสีแดงการเจริญเติบโตช้าลักษณะแคระแกรนหรือผิดรูป รวมถึงใบล่างสีเขียวเข้ม ตลอดจนใบที่อาจเป็นสีเหลืองแล้วตาย

การแก้ไข : เพิ่มปุ๋ยหมักที่มีฟอสฟอรัส หรือใช้ ไตร - แท๊บ ช่วยละลายฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคในกัญชาได้อีกด้วย แต่ในส่วนที่เสียหายจะไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนที่เจริญเติบโตใหม่ที่เป็นปกติถึงจะแสดงผลว่าแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้

ไตร-แท๊บ : เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตราใช้ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงวัสดุปลูกทุกๆ 7 วันควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด

 

อาการขาดโพแทสเซียมจะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ลักษณะโดยรวมจะคล้ายๆ กับการขาดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสปลายใบจะเริ่มม้วน ต้นจะยืดยาว

การแก้ไข : สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ที่มีโพแทสเซียม การแก้ไขอีกวิธีด้วยการให้น้ำ และอีกส่วนหนึ่งคือการสร้างความสมดุลของธาตุ N P K (ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม)

 

แคลเซียม (Ca) 

การขาดแคลเซียมในกัญชา กัญชง อาจส่งผลให้ดินมีสภาพเป็นกรดมากเกินไปสามารถแก้ไขได้โดยการให้อาหารทางใบ (เพิ่มปุ๋ยน้ำโดยตรงกับใบพืช) ปูนขาวหนึ่งช้อนชาต่อน้ำหนึ่งลิตร จนกว่าภาวะดังกล่าวหายไป

โบรอน (B)

การขาดโบรอน จะแสดงอาการยอดไหม้ เนื้อแห้งตาย

การแก้ไข : การใช้ แคลบีไวท์ จะช่วยให้ต้นกัญชา กัญชง ได้รับธาตุแคลเซียม และโบรอน เพียงพอต่อความต้องการที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโต

แคลบีไวท์ : อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วันตลอดการเจริญเติบโตของกัญชา และกัญชง

 

กัญชา กัญชง ที่ขาดสังกะสี จะเกิดสีขาวบริเวณปลายใบ หรือระหว่างเส้นใบ สามารถรักษาได้โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีสังกะสี

การแก้ไข : การขาดธาตุสังกะสี สามารถใช้ ทีเอบี ซิงค์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างธาตุอาหารที่กัญชา กัญชง ต้องการได้ เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์และแข็งแรงของต้น

ทีเอบี ซิงค์ : อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุกๆ 7 วัน ตลอดการเจริญเติบโตของกัญชา และกัญชง หรือเมื่อต้นเริ่มแสดงอาการการขาดธาตุสังกะสี

 

ในทุกช่วงการเจริญเติบโตของกัญชา กัญชง หากมีสภาพอากาศไม่เหมาะสมหรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น สภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูง - ต่ำจนเกินไป หรือมีฝนตกชุกต้นกัญชา กัญชงปรับสภาพไม่ทันอาจทำให้ต้นแสดงอาการผิดปกติได้
การแก้ไข : สามารถใช้ ไบโอไลฟ์ เอ็ม 40 ซึ่งเป็นอะมิโน แอซิด ช่วยให้พืชทนต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมในพืชได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารทั้งทางรากและใบได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ต้นกัญชา กัญชงมีความแข็งแรง ลดการหลุดร่วงของดอก
ไบโอไลฟ์ เอ็ม 40 : อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 - 10 วัน ตลอดการเจริญเติบโต
คำแนะนำ : ควรใช้ร่วมกับธาตุอาหารรองที่จำเป็นในพืช เช่น โปรมิกซ์ ยูมิกซ์ แคลบีไวท์

 

กำมะถัน (S)  อาการขาดกำมะถัน ใบอ่อน อาการขาดกำมะถัน ใบอ่อนมีอาการเหลือง สีใบไม่สม่ำเสมอ พืชแคระแกรน ใบใหม่มีขนาดเล็ก

เหล็ก (Fe)  อาการขาดธาตุเหล็ก พบแผ่นใบ อาการขาดธาตุเหล็ก พบแผ่นใบเป็นสีเหลืองซีด ขณะที่เส้นใบยังคงเป็นสีเขียว

ทองแดง (Cu)  อาการขาดทองแดง ใบจะค่อยๆ อาการขาดทองแดง ใบจะค่อยๆเหี่ยวเฉา เหลืองซีด ใบที่แตกใหม่อาจบิดเบี้ยว

แมงกานีส (Mn)  อาการขาดแมงกานีส บริเวณ อาการขาดแมงกานีส บริเวณระหว่างเส้นใบซีดอ่อนเนื้อเยื่อตาย ทำให้ใบหลุดร่วง เนื่องจากการสังเคราะห์แสงลดลง

แมกนีเซียม (Mg)  อาการขาดแมกนีเซียม มักจะเริ่ม อาการขาดแมกนีเซียม มักจะเริ่มในช่วงกลางลำต้นขึ้นไปยังใบอ่อน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาว โดยที่เส้นใบยังเขียวอยู่

โมลิบดินัม (Mo)  อาการขาดโมลิบดินัม ใบจะ อาการขาดโมลิบดินัม ใบจะเริ่มมีสีส้ม สีแดงหรือสีชมพูบริเวณขอบใบและม้วนเข้าหากลางใบ

การแก้ไข : การขาดธาตุแมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส และโมลิบดีนัม สามารถใช้โปรมิกซ์ หรือยูมิกซ์เพื่อเสริมสร้างธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นกัญชา กัญชงได้

โปรมิกซ์ : อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน โปรมิกซ์ : อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน ตลอดการเจริญเติบโตของกัญชา และกัญชง 

ยูมิกซ์ : อัตรา 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 14 วัน ยูมิกซ์ : อัตรา 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 14 วัน ตลอดการเจริญเติบโตของกัญชา และกัญชง

 

 

เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา

 

เอกสารอ้างอิง

Shiv Reddy 2021. A Physiological Approach to Cannabis Plant Nutrition

https://dutch-passion.com/en/blog/a-visual-guide-to-cannabis-deficiencies-n987

https://www.royalqueenseeds.com/blog-cannabis-nutrient-and-deficiency-table-n88

https://home420-th.com/site/blog/cannabis-nutrient/

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 10747 ครั้ง

Engine by shopup.com