การจัดการแมลงศัตรูในกัญชาและกัญชง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

การจัดการแมลงศัตรูในกัญชาและกัญชง

         ในปัจจุบันกัญชากัญชงเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจ มีการนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ ซึ่งการนำกัญชา กัญชง มาใช้ในทางการแพทย์จำเป็นจะต้องไม่มีสารเคมี แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการปลูกกัญชา กัญชง นั้นจะมีแมลงศัตรูเข้าทำลายหลายชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย การใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับวิธีการจัดการ มีอะไรบ้างและควรจัดการอย่างไร

 

แมลงปากดูด และไรศัตรูพืช

          เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ผนังลำตัวอ่อนนุ่ม ลำตัวจะดูคล้ายผลมะปราง มีการขับไขสีขาวปกคลุมลำตัว เพลี้ยอ่อนมีท่อ cornicles หนึ่งคู่อยู่ด้านท้ายของท้อง มีการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ และออกตัวโดยไม่มีการวางไข่ มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก เพลี้ยอ่อนทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันที่ขนาดและสี มีลำตัวสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม นัยน์ตาดำ ลอกคราบ 4-5 ครั้ง เมื่อโตเต็มที่ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เพลี้ยอ่อนตัวหนึ่งจะออกลูกได้ประมาณ 27 ตัว อายุตัวอ่อนโดยเฉลี่ย 6 วัน ตัวแก่มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 3-14 วัน รวมชีพจักรเฉลี่ยคือ 11 วัน

อาการ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถเข้าทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ใบ ลำต้น กิ่ง และขับถ่ายของเหลวที่เรียกว่า Honey dew จะเป็นอาหารของราดำ (sooty mold) ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืชลดลง หากเกิดการระบาดของเพลี้ยอ่อนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดใบอ่อนหงิกงอ ใบเหลืองหลุดร่วง นอกจากนี้เพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะของไวรัสอีกด้วย

 

          เพลี้ยไฟ เป็นแมลงจำพวกปากดูด จัดอยู่ในวงศ์ Thysanoptera มีขนาดเล็ก ลำตัวมักมีสีเข้ม เหลือง น้ำตาล หรือดำยาวประมาณ 0.5 – 8.5 มิลลิเมตร ส่วนหัวของเพลี้ยไฟคล้ายกับกรวย ปลายส่วนท้องเรียวแคบ มีปากแบบเขี่ยดูด แต่ไม่มีกรามข้างขวา ทำให้ส่วนปากของเพลี้ยไม่สมมาตร ตารวมมีขนาดเล็ก หากตัวไหนมีปีกจะมีตาเดี่ยวเพิ่มมาอีก 3 ตา หนวดมีลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ 6 – 10 ปล้อง เพลี้ยไฟถือเป็นแมลงที่บินไม่เก่ง แต่อาศัยกระแสลมช่วยในการพัดพาไปยังที่ต่างๆ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการผสมพันธุ์ และไม่ผสมพันธุ์ โดยตัวเมียมีอายุประมาณ 15 วัน เมื่อได้รับการผสมพันธุ์จะออกไข่ได้ประมาณ 40 ฟอง ส่วนตัวเมียที่ไม่ผสมพันธุ์ออกไข่ได้ประมาณ 30 ฟอง วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟจากไข่ ถึงตัวเต็มวัยมีระยะประมาณ 15 – 20 วัน ถือว่าเป็นวงจรชีวิตที่สั้นมาก 

อาการ : การเข้าทำลายส่วนใบและยอดอ่อนของพืช โดยการดูดน้ำเลี้ยงจากผิวใบ ทำให้ใบที่ถูกทำลายมีลักษณะเป็นจุดน้ำตาล แต่แผลที่เกิดจากเพลี้ยไฟจะมีขนาดใหญ่กว่า และการเข้าทำลายบนใบไม่มีรูปแบบของแผลที่แน่นอน ต่างจากแผลที่เกิดจากไรแมงมุมจะเห็นแผลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

 

          ที่วงจรชีวิตสั้น โดยสายพันธุ์ส่วนใหญ่ อายุขัยเฉลี่ยจะอยู่ที่ราวๆ 2-3 สัปดาห์ โดยตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเรียงติดกัน ไข่จะมีสีเหลืองอ่อนเรียวยาว ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายรูปไข่สีเหลืองปนเขียว แบนราบติดกับผิวใบไข่ จะอยู่ติดกันเป็นกลุ่มมีสีเหลืองอมเขียวใส มองเห็นส่วนต่างๆที่อยู่ภายในได้ ตัวอ่อน จะมีรูปร่างลักษณะคล้ายโล่อาวุธ

อาการ : แมลงหวี่ขาวตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยบริเวณใต้ใบ และเข้าทำลาย บริเวณใบ โดยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้เกิดจุดสีเหลืองบนพืช และมีการขับถ่าย honey dew ซึ่งเป็นอาหารของราดำ (sooty mold) นอกจากนี้ยังเป็นพาหะของไวรัส

 

          เพลี้ยแป้งเป็นแมลงปากดูด ลำตัวเล็กเป็นปล้อง อ่อนนุ่ม มีขา 6 ขา เพลี้ยชนิดนี้จะผลิตสารสีขาวที่มีลักษณะคล้าย “ผงแป้ง” หรือที่เรียกว่า “mealywax” ปกคลุมลำตัวเอาไว้ และสร้างเส้นใยสั้นๆ สีขาว รอบลำตัว โดยเส้นใยที่ยาวที่สุดอยู่บริเวณปลายปล้องท้องสุดท้าย บางชนิดมีความยาวมากว่าลำตัว เพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบพืช โดยเพลี้ยแป้งตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 600- 800 ฟองภายใน 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 -10 วัน จึงจะออกมาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ระยะแรกๆ จะมีสีเหลือง และไม่มีผงสีขาวปกคลุมตามตัว จะคลานหาที่อยู่ที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และเจริญเติบโต ตัวอ่อนเพศเมียจะลอกคราบทั้งหมด 3 ครั้ง ไม่มีปีก ส่วนตัวอ่อนเพศผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีก และตัวเล็กกว่าตัวเมีย

เพลี้ยแป้งแต่ละชนิด มีวงจรชีวิตที่แตกต่างกันออกไป และถึงจะเป็นเพลี้ยแป้งชนิดเดียวกัน แต่ถ้าอาศัยอยู่บนพืชต่างชนิด ก็จะมีวงจรชีวิตที่ต่างกันไปด้วย

อาการ : เพลี้ยอาศัยอยู่บริเวณใบ ลำต้น และก้านใบ และเข้าทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้น ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายผิดปกติ เช่น ใบมีสีเหลืองและเหี่ยวย่น และหากเข้าทำลายรุนแรง ทำให้ใบและกิ่งแห้งเจริญเติบโตผิดปกติ นอกจากนี้ยังขับถ่าย honey dew ซึ่งเป็นอาหารของมดและราดำ

 

          ตัวเต็มวัย มีขนาดเล็กมากตัวเต็มวัยเพศเมียมีสีแดงเข้มหรือน้ำตาลเกือบดำ ลำตัวเป็นรูปไข่ความยาวของลำตัวประมาณ 414.66 ไมครอน กว้าง 361.00 ไมครอน ขามีสีเหลืองอ่อน ส่วนเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย มีสีน้ำตาลอ่อน อวัยวะเพศผู้มีส่วนโคนใหญ่ ส่วนปลายเรียวเล็กและปลายหักโค้งงอขึ้น อายุของเพศเมียและเพศผู้เฉลี่ยเท่ากัน 6.9 วัน เพศเมียวางไข่ได้ตลอดอายุขัยเฉลี่ย 12.7 ฟองต่อตัว ระยะเวลานับจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยเฉลี่ย 9.40 วัน

อาการ : ไรจะอาศัยอยู่ใต้ใบ และบางส่วนอาจหลบอยู่ตามตาใบ (bud) และดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณผิวใบ ทำให้ผิวใบมีลักษณะเป็นจุดสีขาว และในแปลงที่มีการระบาดจะพบใยที่ไรสร้างขึ้น

 

การจัดการเพลี้ยไฟ กำจัดไรแดง และแมลงปากดูด ไรศัตรูพืช

  1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และไรแดง ให้ทำการสำรวจอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อประเมินความรุนแรงจากการเข้าทำลาย
  2. การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองและสีฟ้า
  3. เนื่องจากเพลี้ยอ่อน สามารถแพร่กระจายไปกับอากาศ การใช้อุปกรณ์กรองอากาศ ( air filter) ขนาด 360 ไมครอน สามารถลดการแพร่กระจายของเพลี้ยอ่อนภายในโรงเรือน
  4. การใช้มวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguous ในการควบคุมจำนวนประชากรเพลี้ยไฟ
  5. การใช้ตัวห้ำ ได้แก่ แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลาย ในการควบคุมจำนวนประชากรของเพลี้ยแป้ง
  6. การใช้อุปกรณ์กรองอากาศ (air filter) ขนาด 300 ไมครอน เป็นอย่างน้อย สามารถลดการแพร่กระจายของไรภายในโรงเรือนได้
  7. ฉีดพ่นด้วย บิวเวอร์ (เชื้อราบิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า) หรือเชื้อราเมตาไรเซียม อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ร่วมกับ เบนดิกซ์ (สารจับใบ) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่น ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง เลือกฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด เพิ่มความชื้นในแปลงให้มี 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

 

แมลงปากกัด

          ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางปีกคู่หน้ามีเส้นสีเหลืองพาดหลายเส้น ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวใต้ใบพืชผัก เมื่อหนอนฝักออกจากไข่ระยะแรกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบพืชผักจนบางใส และเมื่อหนอนลอกคราบได้ 2 ครั้ง จะเห็นแถบสีดำที่คอได้ชัดเจน ลำตัวเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเกิดลายเส้นหรือจุดสีดำ และผิวลำตัวมีขีดดำพาดตามยาว หนอนจะเริ่มทำลายพืชผักโดยกัดกินใบ และยอดอ่อน หรือเข้ากัดกินซอกกลีบใบในหัวกะหล่ำที่ยังเข้าไม่แน่น หนอนเมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร หนอนกระทู้ผักเข้าดักแด้ในดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม

อาการ : เข้าทำลายได้ทุกระยะตั้งแต่ต้นกล้าจนถึงระยะออกดอก โดยกัดกินใบ ยอดอ่อน รวมถึงช่อดอก

 

การจัดการ

  1. บาซิลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) 60-80 กรัม หรือ มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3-5 วัน เมื่อพบการระบาด
  2. นิวคลีโอโพลีฮีโดรไวรัส หรือเอ็นพีวี หนอนกระทู้ผัก (nucleopolyhedrovirus or NPV) 40-50 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็กจะให้ผลในการควบคุมได้รวดเร็ว
  3. ฉีดพ่นด้วย บิวเวอร์ (เชื้อราบิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า) อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ร่วมกับ เบนดิกซ์ (สารจับใบ) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่น ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง เลือกฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด เพิ่มความชื้นในแปลงให้มี 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

 

          แมลงวันชอนใบตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก มีขนาด 10-20 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ขนาดเล็กไว้ใต้ส่วนของเนื้อเยื่อบางๆ ของพืช ระยะไข่ 2-4 วัน เมื่อฟักเป็นหนอนจะลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน (รูปกระสวย) ไม่มีปล้องชัดเจน ไม่มีขาเคลื่อนที่ มีการดีดตัว แทนการใช้ขา มีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร จะชอนไชตามเนื้อเยื่อพืช ในระยะหนอนใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน จึงเข้าดักแด้คล้ายรูปเมล็ดข้าวสาร ตามส่วนของพืชที่ถูกทำลาย และตามใบที่ร่วงหล่นลงดิน ขนาดดักแด้ยาว 8-10 มิลลิเมตร ระยะดัดแด้ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน จึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันจะมีสีดำหรือเหลือง ตลอดวงจรชีวิตประมาณ 3-4 สัปดาห์

อาการ : หนอนจะเข้ากัด โดยชอนไชไปดูดกินอาหารระหว่างผิวใบและหลังใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวขึ้นบนใบ ซึ่งจะไปลดการสังเคราะห์แสงของพืชหากเกิดความเสียหายรุนแรงมากส่งผลใบร่วง

การจัดการ

  1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการที่เกิดจากหนอนแมลงวันชอนใบnให้ทำการสำรวจอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อประเมินความรุนแรงจากการเข้าทำลาย
  2. การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อลดจำนวนประชากรตัวเต็มวัยของหนอนแมลงวันชอนใบ ลดการวางไข่ และแพร่ระบาด

 

เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา

 

เอกสารอ้างอิง

คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา (Cannabis sativa L.) 2564.เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร.

Rosenthal, Ed. 2019. Marijuana Garden Saver: A Field Guide to Identifying and Diagnosing Cannabis Problems. USA: Quick American Publishing.

https://www.alchimiaweb.com

https://www.growweedeasy.com

24 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 26633 ครั้ง

Engine by shopup.com