การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคใบติดทุเรียน
การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคใบติดทุเรียน
การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคใบติดทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบติดหรือโรคใบไหม้ทุเรียน ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อนหรือหลังเก็บผลผลิต อาการเริ่มแรกจะพบบนใบ มีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง ซึ่งในปัจจุบันการใช้สารเคมีอาจส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมหรือทำให้เชื้อสาเหตุโรคต้านทาน การใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับการจัดการจึงเป็นทางเลือกน่าสนใจ และสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia sp.
ลักษณะอาการ พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือแต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืชระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงฝนตกชุก
การป้องกันกำจัด
- ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้เหมาะสม โดยให้มีความขึ้นในปริมาณที่ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี และมีความชื้นในทรงพุ่มไม่เหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
- ในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อนควรหมั่นสำรวจอาการของโรค หากพบโรคควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออกนำไปเผานอกแปลงปลูก
- เก็บและรวบรวมเศษใบไม้เป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง
- ในแปลงปลูกที่ความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ควรใส่ปุ๋ยที่มีในโตรเจนต่ำ เพื่อลดความอุดมสมบูรณ์ของการแตกใบเกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน
- ไม่ควรปลูกทุเรียนให้ชิดกันเกินไปเพราะจะทำให้ทรงพุ่มประสานกัน เกิดเป็นโรคติดต่อกันได้
- ฉีดพ่นด้วย เจน-แบค ให้ทั่วทรงพุ่มก่อนการระบาด อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 10-15 วัน เมื่อพบอาการพ่นทุก 5-7 วัน
เรียบเรียงโดย
อธิษฐาน ชมเพ็ญ
อ้างอิง
- ทุเรียนใต้ ระวังโรคใบติด. สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร. สำหนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นิพนธ์ วิสารทานนท์. โรคทุเรียน: เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร หมอพืช-ไม้ผล ฉบับที่ 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน คณะเกษตร ภาควิชาโรคพืช. 2542
- สมศิริ แสงโชติ. โรคพืชที่สำคัญต่อการผลิต และการส่งออกทุเรียน. เทคโนเกษตร. เกษตรอภิรมย์. 2559
- การจัดการโรคและแมลงศัตรูทุเรียน. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา
- สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร
- พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 982 หน้า.
- ศรุต สุทธิอารมณ์. 2557. แมลงศัตรูทุเรียน. น. 4-23. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิชาการพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.
- การจัดการผลิตทุเรียน (รู้จริงเรื่องพืชกับกรมวิชาการเกษตร).กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- https://kasetgo.com
24 กรกฎาคม 2567
ผู้ชม 1177 ครั้ง