โรครากบวมในกะหล่ำ

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

         

เกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดที่มีพื้นที่สูง อากาศหนาวเย็น เช่น น่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ที่ปลูกซ้ำพื้นที่เดิมจะพบปัญหา ต้นพืชมีอาการต้นเหี่ยว หรือต้นแคระแกร็น เมื่อถอนต้นจะพบอาการรากบวม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ต้นตาย ไม่ได้ผลผลิต ซึ่งอาการดังกล่าวเรียกว่า โรครากบวมหรือ clubroot

 

โรครากบวมหรือ clubroot

เกิดจากเชื้อรา Plasmodiophora brassicae Woromin

ซึ่งเป็นราเมือกไม่สร้างเส้นใย แต่สร้าง vegetative structure มีลักษณะเป็น plasmodium แพร่พันธุ์โดย zoospore ที่มี flagella 2 เส้น เชื้อรานี้เข้าทำลายส่วนของต้นหรือรากที่อยู่ใต้พื้นดิน ทำให้สังเกตอาการค่อนข้างยากจนกระทั่งอาการรุนแรงแล้ว จึงปรากฏให้เห็นอาการส่วนต้นด้านบนใบแสดงอาการเหลืองเหี่ยวเฉาในตอนกลางวันที่มีอากาศร้อน หากเข้าทำลายรากในต้นอ่อนหรือระยะกล้าจะทำให้ต้นพืชตาย ต้นที่โตพ้นระยะกล้าจะแสดงอาการเหลือง เหี่ยวเฉา แคระแกร็นหยุดการเจริญเติบโต เมื่ออาการรุนแรงมากจะพบว่าส่วนรากมีอาการบวมเป็นก้อน เนื่องจากเชื้อราไปกระตุ้นให้เซลล์พืชมีขนาดใหญ่ (hypertrophy) และแบ่งตัวมากกว่าปกติ

 

การแพร่ระบาด

เชื้อราสามารมีชีวิตอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 18-25 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเข้าทำลายพืชอยู่ในช่วง  12-27 องศาเซลเซียส โรคจะรุนแรงมากขึ้นในดินที่ขังน้ำและดินที่มีค่า pH เป็นกรด

 

 

การป้องกันกำจัด

1.จัดการแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ให้น้ำขัง

2.กำจัดพืชและวัชพืชออกจากแปลงปลูกจนหมด และอบดินด้วยการใช้ยูเรีย (46-0-0) 1 ส่วน ผสมกับปูนขาว 10 ส่วน โรยที่แปลงปลูกพืช ไถกลบและตบหน้าดินให้แน่น รดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มไถเปิดหน้าดิน

3.ปรับค่าดินให้อยู่ในช่วงเป็นกลาง ค่า pH  ประมาณ 7.2  เพื่อไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค

โดยใช้ จัสเตอร์ ผสมกับน้ำฉีดพ่นลงดิน หรือปล่อยไปกับระบบน้ำ

สภาพดิน pHน้อยกว่า 4.5 ใช้ในอัตร 15 ลิตร/ไร่

สภาพดิน pHระหว่าง 4.5-5. ใช้ในอัตร 10 ลิตร/ไร่

สภาพดิน pHระหว่าง5.5-6.5 ใช้ในอัตร 5 ลิตร/ไร่

4.การใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก แต่ต้องเปลี่ยนไม่ใช้นานเกิน 3 ปี เพราะเชื้อปรับตัวเองได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถทำให้พืชกลายเป็นโรครุนแรงขึ้นมาอีก

5.ป้องกันเชื้อโรคโดยใช้ ชีวภัณฑ์

ไตร-แท๊บ ตั้งแต่ระยะเพาะกล้า ย้ายลงปลูกโดยใช้ผสมกับวัสดุเพาะกล้าที่อัตรา1กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะกล้า 100-500-กิโลกรัม หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ที่อัตรา 1 กิโลกรัมต่อปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก100-200กิโลกรัม รองก้นหลุมหลุมละ50-100กรัมและ ฉีดพ่นลงดินอัตรา100กรัม/น้ำ20ลิตร ทุก7-10วัน ก่อนการเกิดโรค

 

 

เรียบเรียงโดย

ชุลีพร ใจบุญ

 

อ้างอิง

- กุลธิดา ดอนอยู่ไพร นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

- พรพิมล อธิปัญญาคม กรมวิชาการเกษตร

 

รูปภาพ

อาการของโรค

https://ucanr.edu/blogs/blogcore/postdetail.cfm?postnum=42974

https://fairbanks.com.au/clubroot-disclaimer/

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1333 ครั้ง

Engine by shopup.com