เพลี้ยจักจั่นในมะม่วง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน ระวัง!!!!เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง

มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้ส่งออกที่ได้รับความสนใจมากในตลาดต่างประเทศ แต่ก็เจอกับปัญหาผลผลิตและคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการเพราะโดนแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย ซึ่งเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เข้าทำลายตามส่วนต่างๆ ของมะม่วงให้เกิดความเสียหายได้เยอะมาก เรามาทำความรู้จักกับเจ้าเพลี้ยจั๊กจั่นตัวนี้กันนะคะจะได้หาวิธีป้องกันได้ทันค่ะ

วงจรชีวิตเพลี้ยจักจั่น

ระยะไข่ ไข่ของเพลี้ยจั๊กจั่นจะวางไข่เดี่ยวๆในเนื้อเยื่อของใบอ่อน ยอด ก้านดอกของต้นมะม่วง ไข่ใช้เวลา 6-9 วันจึงจะฟักเป็นตัวอ่อน  ระยะตัวอ่อน เรียกว่า นีม(Nymph) มี 5 ระยะใช้เวลา 16-18 วัน ตัวเต็มวัยของเพลี้ยจั๊กจั่น มีขนาดเล็กรูปร่างยาวรี หัวและตัวเป็นรูปลิ่ม ความยาวเพศผู้ 4.8-5.1 มิลลิเมตร เพศเมีย 4.9-5.2 มม. เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้ว 3-4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ และอีกประมาณ 3-4 วันต่อมาจะเริ่มวางไข่ เพลี้ยจั๊กจั่นเพศเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้ถึง 100-200 ฟอง ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลา 2-3 สัปดาห์

 

ลักษณะการเข้าทำลาย

เพลี้ยจั๊กจั่น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายมะม่วงโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่ออ่อน ยอดอ่อน ช่อดอก ทำให้ใบหงิก และขอบใบไหม้ ไม่สามารถผลิตช่อดอก ดอกแห้งและร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผล นอกจากนี้ในขณะที่ดูดกินน้ำเลี้ยง เพลี้ยจั๊กจั่นจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวๆคล้าย น้ำหวานเรียกว่า Honey dew หรือมูลหวาน ติดตามช่อดอกและใบ และรอบๆ ทรงพุ่ม มูลน้ำหวานนี้ เป็นอาหารของราดำ (sooty mold) ทำให้ราดำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปกคลุมใบ ช่อดอก ซึ่งมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของใบ

 

การระบาด

พบการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นได้ตลอดทั้งปีแต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจั๊กจั่นจะเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วง ออกดอก คือระหว่างธันวาคม - มกราคม เมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก จำนวนเพลี้ยจั๊กจั่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงขึ้นเรื่อยๆ จนระยะดอกตูม มีปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน และจะลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล ซึ่งจะไม่พบบนผลเมื่อมะม่วงมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ

 

แนวทางการป้องกัน

1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต ช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง ทำให้การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2. ฉีดพ่น บิว-เวอร์ (บิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า) อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อควบคุมตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่น ทุกๆ 7-10 วัน
3. การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ถึง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาการพ่นและการปรับหัวพ่นให้เป็นละอองฝอย
4. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรคราได้บ้าง ถ้าแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากช่อดอกได้ ต้องระมัดระวังอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้
5. ใช้กับดักแสงไฟ ดักตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟ

 


อัตราการใช้

ฉีดพ่น บิว-เวอร์ (บิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า) อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อควบคุมตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่น ทุกๆ 7-10 วัน

 

เรียบเรียงโดย : ปรางค์นัดดา ประกอบนา

 

เอกสารอ้างอิง

https://at.doa.go.th/ew/backoffice/upload/294feb651.pdf

Thein, M. M., t. Jamjanya, Y. Kobori, and Y. Hanboonsong. 2012. Dispersal of theleafhoppers Matsumuratettix hiroglyphicus and Yamatotettix flavovittatus (Homoptera: Cicadellidae), vectors of sugarcane white leaf disease. Appl Entomol zool. 47: 255-262.

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1112 ครั้ง

Engine by shopup.com