ด้วงหมัดผัก
ด้วงหมัดผัก
ทำไมใบผักพรุนแบบนี้..?
จริงๆและแล้วอาการพรุนนั้นมีจากหลายสาเหตุ ทั้งหนอนและแมลง แต่ลักษณะการพรุนเป็นรูค่อนข้างกลมขนาดเล็กๆเช่นนี้นั้นคือลักษณะการทำลายของ “ด้วงหมัดผัก” หรือ “หมัดกระโดด” หรือที่เกษตรกรบางพื้นที่เรียกกันว่า “กระเจา” ซึ่งการเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก ซึ่งพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของผักตระกูลกะหล่ำและผักใบ
ในประเทศไทยพบด้วงหมัดผักเข้าทำลายพืชผัก 2 ชนิด คือ
1.ชนิดปีกเหลืองแถบน้ำตาล 2. ชนิดปีกดำหรือปีกสีน้ำเงิน
วงจรชีวิตของด้วงหมัดผัก
ลักษณะการทำลาย
ด้วงหมัดผักเป็นแมลงปีกแข็งชนิดเดียวที่เป็นศัตรูสำคัญของผักตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำดอก และ ผักกาดหัว ตัวอ่อนของด้วงหมัดผักชอบกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผักทำให้ผักเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโตถ้ารากถูกทำลายมากๆ จะส่งผลทำให้ผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดกินด้านล่างของผิวใบทำให้ใบมีรูพรุน และอาจกัดกินลำต้น และกลีบดอก ตัวเต็มวัยของด้วงหมัดผักเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดหนี และสามารถบินได้ไกล
แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด
-การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่ 20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน
-ใช้เชื้อแบคทีเรีย (บีที) บาซิลลัส ทูริงเยนซิส โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน
-วิธีเขตกรรมในการป้องกันและลดการระบาดของด้วงหมัดผักในการปลูกครั้งต่อไปควรไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วัน เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อยู่ใต้ดิน
-ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบ หมุนเวียนบ้าง ก็จะช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง
เรียบเรียงโดย นางสาวชุลีพร ใจบุญ
อ้างอิง
- กรมส่งเสริมการเกษตร ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๒ ประจำวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๑ https://www.doae.go.th
- กองกีฎและสัตววิทยา, 2543, คำแนะนำการ ป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2543, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ
17 มิถุนายน 2567
ผู้ชม 4232 ครั้ง