การป้องกันโรคในเมล่อนแบบปลอดสารเคมี

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

การป้องกันโรคในเมล่อนแบบปลอดสารเคมี

          เมล่อน เป็นพืชที่มีมูลค่าให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนถ้าปลูกแบบปลอดสารเคมี แต่เมล่อนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูพืช  โรคพืชถือว่าสร้างความเสียหายตลอดระยะเวลาการปลูก
ดังนั้นการป้องกันกำจัดโรคพืชจึงเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมล่อน หากป้องกันแล้วยังเกิดปัญหา ควรรีบแก้ไขในทันทีเพื่อป้องกันการลุกลาม และความเสียหายขั้นรุนแรง

โรคที่สำคัญในการปลูกเมล่อน

โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

สาเหตุ เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis

ลักษณะอาการ อาการของโรคส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ โดยเริ่มจากจุดแผลสีเขียวซีดขึ้นก่อน ต่อมาค่อยๆขยายโตขึ้นเป็นสีเหลืองและมีขอบเขตเป็นเหลี่ยม ขณะเดียวกันหากความชื้นในอากาศสูง เช่น ในระยะที่มีฝนปรอยๆ หรือหมอก น้ำค้างจัด ใต้ใบบริเวณจุดแผลจะพบเส้นใย และสปอร์สาเหตุโรค เป็นขุยๆ ผงสีเทา เมล่อนที่เกิดโรครุนแรงจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรมอาจถึงตายได้ทั้งต้น หากเกิดให้ระยะให้ผลผลิต ผลเมล่อนจะเจริญไม่เต็มที่ แกร็น คุณภาพและรสชาติเสียไป

 

วิธีป้องกันและแก้ไข

1.กำจัดวัชพืชและต้นเมล่อนที่เหลือจาการเก็บเกี่ยวให้หมดจากแปลงและบริเวณที่ปลูก

2.เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

3.เว้นระยะปลูกไม่ให้ชิดกันมาก เพื่อระบายความชื้น

4.หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบใบเป็นโรคให้เด็ดออก โดยระวังการปลิวของสปอร์เชื้อรา

5.ใช้ ไตร-แท็บ หรือแบคทีเรีย บาซิลลัส ฉีดพ่น 3-5 วัน ตลอดระยะเวลาการปลูกเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรค

 

 

โรคโคนแตกยางไหล หรือโรคเน่าดำ (Gummy Stem Blight,Black rot)

สาเหตุ เชื้อรา Didymella bryoninae           

ลักษณะอาการ อาการที่ใบเป็นแผลลักษณะยุบตัวลงเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ มีขอบแผลสีเหลืองอ่อน ตรงกลางแผลมีสีเทาจาง คล้ายโรคราน้ำค้าง อาการที่โคนต้นมักเกิดเหนือพื้นดินมากกว่าที่ราก เป็นแผลมีรอยแตก อาจจะมียางไหล ที่ผลเป็นแผลที่เรียกว่าเน่าดำ เชื้อราชนิดนี้เกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต สามารถมีชีวิตข้ามฤดูได้ในดิน แพร่กระจายไปกับดินและน้ำ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

 

Jerry Brust, IPM Vegetable Specialist, University of Maryland; jbrust@umd.edu and Karen Rane, Plant Diagnostician, University of Maryland rane@umd.edu

วิธีป้องกันและแก้ไข

1.ควรป้องกันโรคก่อนเพาะกล้าด้วยเมล็ด โดยการคลุกหรือแช่เมล็ด ด้วย ไตร-แท็บ ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และในวัสดุปลูก

2.หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบป้องกันโดยใช้  ไตร- แท็บ ฉีด พ่นเป็นระยะ ทุก 3-5 วัน

3.ควรกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคให้หมดเพราะโรคนี้สามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากพืชและในดิน

 

โรคราแป้ง (powdery mildew)

สาเหตุ เชื้อรา Erysiphe cichoracearum และ Sphaerotheca fuliginea

ลักษณะอาการ ใบเมล่อนบริเวณแผลที่เป็นโรค จะมีผงฝุ่นสีขาว ดูเหมือนแป้ง โรคนี้ มักจะเกิดในสภาพที่อากาศแห้ง มีความชื้นต่ำกว่าการเกิดโรคราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนส โรคราแป้งจึงมักพบว่า ระบาดในช่วงปลายปีที่มีฝนน้อยและอากาศค่อนข้างเย็น โรคราแป้ง มักเกิดบนใบแก่ ดังนั้น โรคราแป้ง อาจไม่มีผลกระทบต่อต้นแตงมากนัก แต่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลแตง

 

https://plantpath.ifas.ufl.edu/u-scout/cucurbit/powdery-mildew.html

วิธีป้องกัน

1.เลือกใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค

2.หมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบโรคให้ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงหรือฉีดพ่นทันที

3.ใช้ ไตร-แท็บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกัน ทุกๆ 3-5 วัน

 

          การใช้ชีวภัณฑ์ ไตร-แท็บ ในการป้องกันโรคพืช เป็นอีกวิธีการทางเลือกเพื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยกับเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

ไตร-แท๊บ คือเชื้อราไตรโคเดอร์มา ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันโรคพืชได้อย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน โดยสามารถใช้ไตร-แท็บ  ป้องกันโรคพืชร่วมกับการปลูกพืชตั้งแต่ระยะเพาะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น แช่เมล็ด คลุกเมล็ด ผสมวัสดุเพาะกล้า  รองก้นหลุม ราดฉีดพ่นลงดิน และฉีดพ่นต้น วิธีการเหล่านี้สามารถป้องกันและกำจัดโรคพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ รวมไปถึงช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน  จากงานวิจัยพบว่าไตร- แท็บ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช  มีการเจริญของรากดีขึ้น และเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดได้ด้วย

วิธีการใช้ชีวภัณฑ์ ไตร-แท็บ ในการป้องกันและกำจัดโรคในเมล่อน

1.แช่เมล็ด

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 3-5 กรัม/น้ำ 1 ลิตร

2.คลุกเมล็ด

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 10 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม

3.ผสมวัสดุเพาะกล้า ใช้ไตร-แท๊บ

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะกล้า 100-500 กิโลกรัม

4.รองก้นหลุม

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม

5.ราดลงดิน ฉีดพ่นต้น ไปกับระบบน้ำ

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

                ใช้ไตร-แท๊บ อัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะกล้า 100-500 กิโลกรัม

คำแนะนำ การใช้ไตรแท๊บให้เห็นผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ตามอัตราแนะนำ และใช้อย่างสม่ำเสมอ

 

 

อ้างอิง

Pisuth EK-AmNUAY  หนังสือ Diseases and Pests of Economic Importance

Jerry Brust, IPM Vegetable Specialist, University of Maryland; jbrust@umd.edu and Karen Rane, Plant Diagnostician, University of Maryland rane@umd.edu

https://plantpath.ifas.ufl.edu/u-scout/cucurbit/powdery-mildew.html

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1470 ครั้ง

Engine by shopup.com