เพลี้ยอ่อนถั่ว แมลงศัตรูสำคัญในถั่วฝักยาว

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

เพลี้ยอ่อนถั่ว (African bean aphid) Aphis craccivora Koch. แมลงศัตรูสำคัญในถั่วฝักยาว

          เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงศัตรูสำคัญในถั่ว ยิ่งเข้าช่วงหน้าหนาวอากาศแห้งแล้งเป็นช่วงที่เพลี้ยอ่อนจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนต่างๆของต้นถั่วทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงมากอาจทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้เลย ถ้าไม่รีบหาวิธีป้องกันกำจัดและทำความรู้จักกับเพลี้ยชนิดนี้ไว้ก่อน ไปดูกันนะคะว่าเพลี้ยอ่อนมีรูปร่างหน้าตาแบบไหนและมีการเข้าทำลายถั่วยังไงบ้าง

เพลี้ยอ่อนถั่ว ตัวเต็มวัยมีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลแดง เมื่อเป็นตัวเต็มวัยมีสีเข้มจนถึงดำ

 

วงจรชีวิต

          เพลี้ยอ่อนออกลูกเป็นตัว ระยะตัวอ่อน 5-7 วัน ตัวอ่อนลอกคราบ 4-5 ครั้ง และจะเป็นตัวเต็มวัยภายใน 4-8 วัน ตัวแก่มีชีวิตอยู่ได้นาน 3-14 วัน เริ่มขยายพันธุ์หลังจากเป็นตัวเต็มวัย 1 วัน

 

ลักษณะการเข้าทำลาย

          เพลี้ยอ่อนถั่วจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ดอก และฝักถั่ว ทำให้ดอกร่วง ถ้าฝักอ่อนถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ฝักมีขนาดเล็กลง หากการทำลายรุนแรงจะทำให้หยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด เพลี้ยอ่อนยังปล่อยของเหลวซึ่งเป็นน้ำตาลที่เหลือใช้ผสมกับของเสียออกมาทางช่องขับถ่ายเรียกว่ามูลน้ำหวานซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนปกคลุมใบและฝัก ผลผลิตจึงไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และเพลี้ยอ่อนถั่วยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสสู่ต้นพืชอีกด้วย

 

 

 

 

การใช้ บิว-เวอร์ กำจัดเพลี้ยอ่อนถั่ว

บิว-เวอร์ คือ ชีวภัณฑ์เชื้อราบูเวเรีย บัสเซียน่า สายพันธุ์ BCC2660

มีคุณสมบัติเป็นเชื้อราก่อโรคในแมลงที่ใช้ป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่ว

เลขทะเบียนวัตถุอันตราย : 3104-2564 (ทะเบียนหมดอายุ 14 ต.ค. 70)

สารสำคัญ : Beauveria bassiana ………………………..1x109 cfu/g WP

 

กลไกการเข้าทำลายแมลงของบิว-เวอร์

            บิว-เวอร์  จะแทงเส้นใยผ่านทางช่องเปิดและเจริญเติบโตภายในตัวเพลี้ยอ่อนถั่ว  ผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษทำลายเพลี้ยอ่อนถั่ว  จะไม่ตายทันที (แต่จะตายภายใน 3 - 7 วัน)  ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะสังเกตเห็นมีเส้นใยสีขาวบนซากเพลี้ยอ่อนถั่วที่ตายแล้ว

 

เบนดิกซ์ สารเสริมประสิทธิภาพประเภทออร์แกโนซิลิโคน  โดยใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรชนิดต่างๆ ได้แก่ ชีวภัณฑ์ควบคุมป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช ฮอร์โมนบำรุงการเจริญเติบโต ปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมต่างๆ

คุณสมบัติ เบนดิกซ์

1.ใช้เพื่อให้ชีวภัณฑ์หรือสารต่างๆเข้ากับน้ำได้ดียิ่งขึ้นไม่เกิดการแยกชั้นหรือตกตะกอนของสาร

2.ทำหน้าที่เป็นตัวกระจายสาร เกาะบนใบและต้นพืชได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นจึงช่วยประหยัดปริมาณในการใช้ บิว – เวอร์ ได้ 20-30% ทำให้ประหยัดต้นทุนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

3.เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบิว-เวอร์ ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่ว เพราะจะช่วยให้ บิว-เวอร์ แทรกซึมเข้าตัวเพลี้ยอ่อนถั่วได้เร็วยิ่งขึ้น

 

อัตราการใช้บิว-เวอร์ : ใช้อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อนถั่ว
อัตราการใช้เบนดิกซ์ : ใช้อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

 

การเตรียมน้ำสำหรับใช้ผสม บิว-เวอร์

1.ใส่เบนดิกซ์ผสมกับน้ำที่เตรียมไว้สำหรับฉีดพ่น เพื่อเป็นสารเสริมประสิทธิภาพ(จับใบ) ซึ่งเบนดิกซ์จะช่วยให้ บิว-เวอร์ เข้ากับน้ำมากยิ่งขึ้น ยังช่วยให้ บิว-เวอร์ กระจายตัว เกาะบนใบและต้นพืชได้อย่างทั่วถึง
อัตราการใช้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2.ใส่ บิว-เวอร์ ตามอัตราแนะนำลงไปในน้ำที่มีเบนดิกซ์ผสมให้เข้ากัน

3.วัด pH น้ำ เพื่อดูค่าความเป็นกรด – ด่างก่อนนำไปฉีดพ่น หากน้ำที่ผสมสารแล้วมีค่า pH มากกว่าหรือน้อยกว่า 6.5 – 7 ให้ปรับสภาพน้ำก่อน

4.ปรับ pH น้ำ ให้ได้ 6.5-7.5 ถ้าน้ำที่ใช้ในการฉีดพ่นมีความเป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไปจะทำให้ บิว -เวอร์ เสื่อมสภาพลง ปรับน้ำ โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ซุปเปอร์บัพเฟอร์ (กรด) และบัพเฟอร์พลัส (ด่าง) ช่วยในการปรับสภาพน้ำ  เมื่อน้ำมี ค่า pH 6.5 -7 สามารถนำไปฉีดพ่นได้

 

ความสำคัญในการปรับค่า pH น้ำ

            หากน้ำมีค่า pH เป็น กรดหรือด่างมากจนเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของบิว-เวอร์ลดลง เนื่องจากบิว-เวอร์เหมาะสมกับน้ำที่ค่า pH  อยู่ในช่วง 6.5 -7.0 การปรับค่า pH น้ำ นั้นมีความสำคัญมากเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการนำไปใช้ หากการใช้สารมีประสิทธิภาพมากเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นซ้ำบ่อยๆ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการใช้สารได้

 

ขั้นตอนการนำ บิว-เวอร์ ไปฉีดพ่น

1.เพิ่มความชื้นในแปลงให้มีความชื้นมากกว่า 60% ขึ้นไป

2.ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืชทั้งบริเวณใต้ใบ บนใบและลำต้น

3.ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแดดจัด

4.ควรฉีดพ่นให้ บิว-เวอร์ สัมผัสกับไรแดงโดยตรง

5.ควรฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน และควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 ครั้ง

 

 

เอกสารอ้างอิง

 Chen, Rui; Wang, Zhe; Chen, Jing; Jiang, Li-Yun; Qiao, Ge-Xia (2017). "Insect-bacteria parallel evolution in multiple-co-obligate-aphid association: A case in Lachninae (Hemiptera: Aphididae)". Scientific Reports. 7 (1): 10204.

Moran, Nancy A. (1992). "The Evolution of Aphid Life Cycles". Annual Review of Entomology37: 321–348.

van Emden, Helmut F.; Harrington, Richard (2017). Aphids as Crop Pests, 2nd Edition. CABI. pp. 81–82. ISBN 978-1-78064-709-8. Archived from the original on 2021-06-24. Retrieved 2018-04-29.

Wang, C. L.; Siang, L. Y.; Chang, G. S.; Chu, H. F. (1962). "Studies on the soybean aphid, Aphis glycines Matsumura". Acta Entomologica Sinica. 11: 31–44.

17 มิถุนายน 2567

ผู้ชม 1000 ครั้ง

Engine by shopup.com