การใช้ บิว-เวอร์ กำจัดไรแดง

หมวดหมู่: บทความชีวภัณฑ์

 

การใช้ บิว-เวอร์ กำจัดไรแดง

ไรแดง คือสัตว์ขนาดเล็กที่ก่อปัญหาให้ต้นพืชเกิดความเสียหายเนื่องจากการเข้าทำลายโดยตรงและบางสายพันธุ์เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ต้นพืช เช่น ไรสี่ขา และยังสามารถปนเปื้อนไปกับสินค้าทางการเกษตรทำให้ประสบปัญหาการกีดกันทางการค้า ซึ่งในช่วงนี้ฝนเริ่มทิ้งช่วงอากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง เหมาะสำหรับการระบาดของไร จะพบระบาดสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม- มกราคม จากนั้นไรจะค่อยๆ ลดลงปริมาณอาจสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งแล้งจัด และพบระบาด น้อยมากในช่วงฤดูฝน

ที่มา : Trees.com

 

วงจรชีวิตของไรแดง
พบมีการเข้าทำลายพืชได้กว้าง ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 7-12 วัน ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กมาก ตัวเต็มวัยเพศเมียมีสีแดงเข้มหรือน้ำตาลเกือบดำ ลำตัวเป็นรูปไข่ความยาวของลำตัวประมาณ 414.66 ไมครอน กว้าง 361.00 ไมครอน ขามีสีเหลืองอ่อน ส่วนเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย มีสีน้ำตาลอ่อน อวัยวะเพศผู้มีส่วนโคนใหญ่ส่วนปลายเรียวเล็กและปลายหักโค้งงอขึ้น อายุของเพศเมียและเพศผู้ เฉลี่ยเท่ากัน 6.9 วัน ไรเพศเมียวางไข่ได้ตลอดอายุขัยเฉลี่ย 12.7 ฟองต่อตัว ระยะเวลานับจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยเฉลี่ย 9.40 วัน (เทวินทร์, 2534)


ที่มา : NC State Extensio

 

 

ลักษณะการทำลาย ไรดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณผิว ทำให้เกิดเป็นจุดปะสีขาวกระจายอยู่ทั่วบนใบ ต่อมาจุดปะสีขาวจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นผลขาวๆคล้ายฝุ่นจับ ถ้าหากมีไรทำลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทำให้ใบร่วงและมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตออกดอกและติดผลถ้าระบาดในช่วงต้นพืชอายุน้อยสามารถทำให้พืชตายได้

 

ที่มา : gardendesign.com

 

 

บิว-เวอร์ คือ ชีวภัณฑ์เชื้อราบิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า สายพันธุ์ BCC2660
มีคุณสมบัติเป็นเชื้อราก่อโรคในแมลงที่ใช้ป้องกันและกำจัดไรแดง
เลขทะเบียนวัตถุอันตราย : 3104-2564 (ทะเบียนหมดอายุ 14 ต.ค. 70)
สารสำคัญ : Beauveria bassiana ……………….......1x109 cfu/g WP

 

กลไกการเข้าทำลายแมลงของ บิว-เวอร์

เชื้อราบิวเวอร์เรีย มีกลไกการเข้าทำลายแมลง เมื่อสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียสัมผัสกับตัวแมลงในสภาพความชื้นที่เหมาะสมความชื้นสัมพัทธ์ 50-80% ที่อุณหภูมิ 20-27 องศาเซลเซียส เส้นใยจะแทงเข้าตัวแมลง ทางผนังลำตัว รูหายใจ โดยใช้เนื้อเยื่อแมลงเป็นอาหารเจริญเติบโตในตัวแมลงโดยทั่วไปแมลงจะตายภายใน 3-14 วัน

 


เบนดิกซ์ คือ สารจับใบประเภท ออร์กาโนซิลิโคน(Organo Silicone) ช่วยในการแทรกซึม กระจายตัวดูดซึม และแผ่กระจายสารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่น

คุณสมบัติ เบนดิกซ์
1.ใช้เพื่อให้ชีวภัณฑ์หรือสารต่างๆเข้ากับน้ำได้ดียิ่งขึ้นไม่เกิดการแยกชั้นหรือตกตะกอนของสาร
2.ทำหน้าที่เป็นตัวกระจายสาร เกาะบนใบและต้นพืชได้อย่างทั่วถึงดังนั้นจึงช่วยประหยัดปริมาณในการใช้ บิว - เวอร์ ได้ 20-30% ทำให้ประหยัดต้นทุนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
3.เมื่อใช้ร่วมกับ บิว-เวอร์ ป้องกันกำจัดไรแดงจะช่วยให้แทรกซึมเข้าตัวไรแดงได้เร็วยิ่งขึ้นทำให้ บิว-เวอร์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ป้องกันการชะล้างของน้ำฝนได้ หลังจากฉีดพ่น 6 ชั่วโมง

 

 

การเตรียมน้ำสำหรับใช้ผสม บิว-เวอร์

1. วัด pH น้ำก่อนนำมาผสม โดยใช้กระดาษวัด pH

       

 

2. ปรับ ค่า pH น้ำ ให้ได้ 6.5 - 7ถ้าน้ำที่ใช้มีความเป็นกรด – ด่างมากจนเกินไปจะทำให้ บิว-เวอร์เสื่อมสภาพลง การปรับน้ำ โดยการ
ใช้ผลิตภัณฑ์ซุปเปอร์บัพเฟอร์ (กรด)และบัพเฟอร์พลัส (ด่าง) ช่วยในการปรับสภาพน้ำก่อนนำไปผสมสารจับใบ และ บิว -เวอร์

           

 

3. ใช้เบนดิกซ์เพื่อเป็นสารเสริมประสิทธิภาพ (จับใบ)ซึ่งเบนดิกซ์ จะช่วยให้ บิว-เวอร์ เข้ากับน้ำมากยิ่งขึ้น มีการกระจายตัว เกาะบนใบและ
ต้นพืชได้อย่างทั่วถึง โดยใส่เบนดิกซ์ตามอัตรา10 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร

            

4. ใส่ บิว-เวอร์ ลงไปผสมให้เข้ากันจากนั้นวัดค่า pH ด้วยกระดาษ วัดค่า pHอีก 1 ครั้ง เพื่อเช็คค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ที่ 6.5-7

หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้ปรับสภาพน้ำอีก 1 ครั้ง แล้วนำไปฉีดพ่นได้ตามต้องการ

        

 

 

 

ความสำคัญในการปรับ pH น้ำ

หากน้ำมีค่า pH เป็น กรดหรือด่างมากจนเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของบิวเวอร์ลดลง เนื่องจากบิวเวอร์เหมาะสมกับน้ำที่ค่า pH เป็นกลาง คือ 6.5 -7 การปรับ pH น้ำ นั้นมีความ
สำคัญมากเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการนำไปใช้ หากสารที่ใช้มีประสิทธิภาพมากเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นซ้ำบ่อยๆทำให้สามารถลดต้นทุนในการใช้สารได้

 

ขั้นตอนการนำ บิว-เวอร์ ไปฉีดพ่น

1. เพิ่มความชื้นในแปลงให้มีความชื้นมากกว่า 60% ขึ้นไป
2. ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืชทั้งบริเวณใต้ใบ บนใบและลำต้น
3. ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแดดจัด
4. ควรฉีดพ่นให้ บิว-เวอร์ สัมผัสกับไรแดงโดยตรง
5. ควรฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน และควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 ครั้ง

 

 

24 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 2984 ครั้ง

Engine by shopup.com